วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพ่อแห่งชาติ


วันพ่อแห่งชาติ มีประวัติความเป็นมา และความสำคัญอย่างไร


UploadImage

ประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันพ่อแห่งชาติ


วันพ่อแห่งชาติ 

         ใกล้จะถึงวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคมนี้แล้วนะคะ หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักวันพ่อแห่งชาติดีเท่าที่ควร วันนี้ศูนย์ข่าวการศึกษาไทยจึงอยากให้ทุกคนได้รู้จักวันพ่อแห่งชาติลึกซึ้งมากขึ้นค่ะ

          จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น บิดา (พ่อ) ชนก (ผู้ให้กำเนิด) สามี (ของแม่) เป็นต้น
 

UploadImage

         วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย

         วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ”

         ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฏิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้


กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันพ่อแห่งชาตินี้

1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน

2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล




UploadImage


วันพ่อแห่งชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร

      วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ

         ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัดให้มี วันพ่อแห่งชาติ
วัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ

1.       เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.       เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม

3.       เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ

4.       เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน 
 



ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ

UploadImage

         ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ “พุทธรักษา” ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว
 
     คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย
 

UploadImage

บทบาทของพ่อ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปบทบาทหน้าที่ของพ่อและแม่ไว้ 5 ข้อ

 1.       กันลูกออกจากความชั่ว

 2.       ปลูกฝังลูกไว้ในทางที่ดี

 3.       ให้ลูกได้รับการศึกษาเล่าเรียน

 4.       ให้ลูกได้แต่งงานกับคนดี

 5.       มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงการณ์อันควร


         หลังจากที่ได้รู้ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ศูนย์ข่าวการศึกษาไทยมีเพลงเพลงนึงที่มีความหมายดีๆ เกี่ยวกับพ่อหลวงของเรามาฝากค่ะ ชื่อเพลงรูปที่มีทุกบ้าน เป็นเพลงเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ประพันธ์คำร้องโดย นิติพงษ์ ห่อนาค ทำนองโดย อภิไชย เย็นพูนสุข เรียบเรียงเสียงประสานโดย วีรภัทร์ อึ้งอัมพร และขับร้องโดย ธงไชย แมคอินไตย์
 

         ฟังเพลงจบแล้ว ศูนย์ข่าวการศึกษาไทยหวังว่าทุกคนจะไม่ลืมเป็นลูกที่ดีของพ่อ-แม่ และพ่อหลวงของแผ่นดินด้วยนะคะ

 

วันรัฐธรรมนูญ


วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญของไทย


วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญของไทย
วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญของไทย วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันหยุดราชการเพื่อรำลึกถึงรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น ๆ วันรัฐธรรมนูญมักจะถูกจัดให้ตรงกับวันครบรอบการลงลายมือชื่อ การประกาศใช้ หรือการเห็นชอบซึ่งรัฐธรรมนูญ หรือในบางกรณี เพื่อรำลึกถึงวันที่ประเทศเปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เรามาทำความรู้จักความหมาย และที่มาของวันรัฐธรรมนูญกัน
วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญของไทย
ความหมายของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
ประวัติความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญ
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
  • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
  • หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
  • อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
  • รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว” สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
  • พระมหากษัตริย์
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • คณะกรรมการราษฎร
  • ศาล
ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่าง ๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า ”พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475″ จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้
  1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน – 10 ธันวาคม 2475)
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 – 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 – 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 – 23 มีนาคม 2492)
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 – 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 – 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
  7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 – 20 มิถุนายน 2511)
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 – 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
  9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 – 7 ตุลาคม 2517)
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 – 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 – 20 ตุลาคม 2520)
  12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 – 22 ธันวาคม 2521)
  13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 – 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
  14. รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม – 9 ตุลาคม 2534)
  15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 – 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
  16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 – 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
  17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 – 24 สิงหาคม 2550)
  18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 – ปัจจุบัน)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  • คำปรารภ
  • หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)
  • หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)
  • หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)
  • หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)
  • หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)
  • หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)
  • หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
  • หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
  • หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)
  • หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)
  • หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)
  • หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)
  • หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)
  • หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)
  • หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
  • บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)
วันรัฐธรรมนูญ
สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม
กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี
ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้
หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ
กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ
มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน
มีการจัดงาน “เด็กไทย รักรัฐสภา” พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Kapook.com, Wikipedia, Dailynews


วันคริสต์มาส


christmas
วันคริสต์มาส (Merry Christmas)
25 ธันวาคม ของทุกปี
ช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลที่สำคัญเทศกาลหนึ่งของชาวคริสต์ เทศกาลสำคัญที่ว่านี้คือ เทศกาลคริสต์มาส ซึ่งเป็นเทศกาลฉลองการประสูติของพระคริสต์เทศกาลคริสต์มาสจะจัดขึ้นในวันที่ 24 และ 25 ธันวาคมของทุกปี ในบางประเทศคริสต์มาสอาจจะเริ่มก่อนหน้านั้นประมาณหนึ่งเดือน ช่วงเวลานี้เรียกว่า “แอดเวนท์” (มาจากภาษาลาติน แปลว่า “กำลังมา”) และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 6 มกราคมซึ่งเป็นวันที่นักปราชญ์สามคนที่มาจากทิศตะวันออกนำของขวัญมามอบแก่พระกุมารเยชู ด้วยเหตุนี้ในคืนวันที่ 6 มกราคม จึงเป็นคืนแห่งการมอบของขวัญในหลาย ๆ แห่งของโลก
และเมื่อวันคริสต์มาสอันเป็นวัดสุดยอดของเทศกาลมาถึง การเฉลิมฉลองก็จะเริ่มขึ้น ในช่วงเทศกาลนี้บ้านเรือนจะถูกตกแต่งให้สดใสอบอุ่นด้วยต้นคริสต์มาสที่ประดับประดาเอาไว้อย่างสวยงาม ที่ใต้ต้นคริสต์มาสจะมีของขวัญวางเรียงไว้มากมาย ประตูบ้านและขอบเตาผิงจะถูกตกแต่งด้วยหรีดกิ่งสนและฮอลลีในเดนมาร์กมีการประดับกิ่งเบริร์ชด้วยผลแอปเปิ้ลสีแดงผลเล็ก ๆ และคนแคระตังจิ๋วที่เรียกว่า“พิสเชอร์” ในนอรเวและสวีเดนมีการทำสัตว์ตัวเล็ก ๆ จากฟางแล้วผูกด้วยริบบิ้นสีแดง
เมื่อพูดถึงอาหารในวันคริสต์มาสจะมีอาหารพิเศษมากมายทั้งไก่งวงที่แสนอร่อย เนื้ออบก้อนโตซอสแครนเบอร์รรี ขนมพาย พุดดิง เค้กและคุกกี้เป็นร้อย ๆชนิด ที่ฝรั่งเศษมีการทำเค้กพิเศษเป็นรูปขอนไม้รสชาติเข้มข้นที่เรียกว่า บุช เดอ โนแอล (ขอยไม้คริสต์มาส)และหลังจากอาหารค่ำที่แสนวิเศษผ่านไปนาทีอันน่าระทึกใจก็มาถึงนั่นก็คือการแกะของขวัญนั่นเอง คริสต์มาสเป็นเทศกาลแห่งความสุขที่มีเรื่องให้พูดถึงไม่รู้เบื่อ สำหรับใครก็ตามที่กำลังจะฉลองเทศกาลนี้ก็ขอให้มีความสุขมาก ๆ
                    ทุกวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี จะมีการฉลองรื่นเริงในหมู่คริสต์ศาสนิกชนทั่วโลก กิจกรรมในวันนี้มีแต่สิ่งที่น่ารื่นรมย์ไม่ว่าจะเป็นการกินเลี้ยง แลกของขวัญ แต่งบ้านด้วยต้นคริสต์มาส ร้องเพลงคริสต์มาส ไปจนถึงเอาถุงเท้าไปแขวนรอซันตาคลอสผู้อารีย์นำของขวัญมาใส่ไว้ให้
วันคริสต์มาสมีความสำคัญคือ เป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ พระเยซูเป็นชาวยิว ประสูติในประเทศปาเลสไตน์ ซึ่งเดิมตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใกล้เคียงมาเป็นเวลาช้านาน มีนักปราชญืชาวยิวหลายท่านพยากรณ์ว่า วันหนึ่งข้างหน้าจะมีพระบุตรของพระเจ้าเสด็จลงมาปลดแอกชาวยิวให้ได้รับอิสระภาพในที่สุดวันนั้นก็มาถึง เมื่อพระเยซูประสูติที่หมู่บ้านเบธเลเฮม แคว้นยูดา มารดาของพระองค์ชื่อมาเรีย (ซึ่งเรารู้จักในนามแม่พระ) บิดาชื่อโยเซฟมีอาชีพเป็นช่างไม้
พระเยซูทรงพระปรีชาสามารถมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์สามารถโต้ตอบกับพระชาวยิวในด้านศาสนาได้อย่างฉะฉาน ชีวิตในตอนต้นของพระองค์ดำเนินไปอย่างเรียบง่ายทรงมีอาชีพเป็นช่างไม้ช่วยบิดา จนพระชนมายุราว 30 พรรษา จึงเสด็จออกประกาศคำสอนและทรงรักษาคนป่วยประเภทต่าง ๆเช่น คนตาบอด ง่อยเปลี้ย ให้กลับเป็นปกติดังเดิม
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลกเช่นเดียวกับศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ
ต้นคริสต์มาสในสมัยโบราณ “ต้นคริสต์มาส” หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบ ผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า (ปฐก.3:1-6) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์แสดงละครที่ หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาส และเอาต้นไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง เพื่อประดับฉาก แสดงถึงบาปกำเนิดของอาดัมและเอวา ต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ ที่หาง่ายที่สุด ในประเทศ เหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี จนถึงศตวรรษที่ 15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดงนั้น กลายเป็นการเล่นเหมือนลิเก ล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนา ซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง ชาวบ้านรู้สึกเสียดาย ที่ไม่มีโอกาส ดูละครสนุกๆ แบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของตน โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน หลังจากนั้น ก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ล ขนมและของขวัญอย่างที่เห็นอยู่ ทุกวันนี้ …..นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญ และไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาส และมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาส มีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ ก็ยังนิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่า มีความหมายถึงพระเยซูเจ้า ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต? ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึง นิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจากนั้นยังหมายถึง ความสว่างของพระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึง ความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูเจ้าประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น
christmas
ซานตาคลอส
                          ซานตาคลอสที่เรารู้จักตคุ้นเคยและเห็นภาพดังที่พรรณนามาตั้งแต่ตอนต้น เพิ่งมีกำเนิดขึ้นมาเมื่อไม่เกิน 200 ปีนี้เอง กลุ่มชนที่สร้างเรื่องราวของวันซาคลอส จนกลายเป็นตำนานสำคัญส่วนหนึ่งของเทศกาลคริสต์มาส คือ ชาวอเมริกันเชื้อสายดัตช์รุ่นบุกเบิกนั่นเอง
ตำนานเล่าขานเกี่ยวกับซานตาคลอสเริ่มขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 4 มีเด็กชายคนหนึ่งเกิดในหมู่บ้านไมรา ซึ่งสมัยก่อนโน้น ตั้งอยู่ระหว่างเกาะโรดส์กับไซปรัส แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านเดมรี มีบ้านเรือนตั้งเรียงรายบนสันทรายใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
เด็กชายผู้เกิดในหมู่บ้านเล็ก ๆ มีชื่อว่า “นิโคลัส” ชีวิตของเขาอยู่บนกองเงินกองทองเพราะพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย ไม่ช้าไม่นานพ่อแม่ก็ถึงแก่กรรม ทรัพย์สินจึงตกเป็นของเขาเพียงผู้เดียว แต่น่าแปลกที่นิโคลัสกลับมีใจโอบอ้อมอารีต่อคนยากคนจน ชอบแจกสมบัติช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากจนกลายเป็นขวัญใจของคนทุกเพศทุกวัย
ครั้งนั้นก้อยังมีครอบครัวของชายชราคนจนครอบครัวหนึ่ง กำลังมีปัญหาด้วยบุตรสาวทั้งสามต้องการแต่งงาน แต่ไม่มีเงินจัดพิธีให้สมเกียรติก่อนคนสุดท้อง ครอบครัวนี้จึงตกอยู่ในความทุกข์อย่างหนัก
แต่เมื่อนิโคลัสทราบข่าว จึงนำทองคำใส่ถุง 2 ถุง แอบย่องเข่าไปวางไว้ในบ้านของชายยากจนยามดึกสงัด ทำให้ 2 สาวได้จัดพิธีแต่งงานได้อย่างใหญ่โตสมความปรารถนา ต่อมาก็ถึงเวลาของบุตรสาวคนสุดท้องนิโคลัสก็นำถุงทองแอบมาหย่อนลงทางปล่องไฟในยามราตรี เหตุที่ต้องใช้ปล่องไฟเพราะคืนนั้นหน้าต่างปิดสนิท
จากพฤติกรรมของนิโคลัสเป็นต้นเหตุให้พ่อแม่เด็ก ๆ ในสมัยต่อมา แอบนำของขวัญวางไว้ที่เตียงนอนของลูก ๆ ในตอนกลางคืน แล้วบอกว่า ซันตาคลอสนำของขวัญมามอบให้กลายเป็นพฤติกรรมเลียนแบบที่ยกย่องซันตาคลอสให้ฝังอยู่ในจิตสำนึกของเด็ก ๆ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันและนี่ก็คือ ตำนานความเป็นมาของ กำเนิดซานตาคลอส ” บิดาแห่งวันคริสต์มาส “นั่นเอง
เมื่อชาวดัตช์บางกลุ่มอพยพมาอยู่ในอเมริกาก็นำเอาความเชื่อถือศรัทธาในนักบุญนิโคลัสติดมาด้วย ยังมีการเฉลิมฉลองวันเซนต์นิโคลัสกันทุก ๆ ปี ในเดือนธันวาคม และในที่สุดก็ได้มีการดัดแปลงผสมผสานเข้ากับความเชื่อถือของชาวอเมริกันเชื้อสายอื่น ๆ ทางแถบตะวันออกของอเมริกาตำนานเซนต์โคลัสก็เลยมาผูกโยงกับการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส “ซินเตอร์คลาส” ของชาวดัตช์ซึ่งต่อมาได้กร่อนกลายเป็น “ซานตาคลอส” ก็มีบทบาทและหน้าที่สำคัญ คือ แจกของขวัญแก่เด็ก ๆ ในตอนเช้าตรู่ของทุกวันคริสต์มาสดังที่รู้ ๆ กันอยู่
ทั้งนี้ ภาพซานตาคลอส ภาพแรกที่ปรากฏเป็นชายแก่ใจดี เคราขาวพุงพลุ้ย ใส่เฟอร์โค้ทตัวหนาสีแดงขลิบขาว หอบข้าวของพุรุงพะรังเช่นที่เราคุ้นเคยกันนั้น เป็นฝีมือการวาดจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ผสมผสานกับจินตนาการส่วนตัวของนักเขียนการ์ตูนชื่อดังชาวอเมริกัน ที่ชื่อว่า “โธมัส แนสท์” ภาพแรกของซานตาคลอสนี้ปรากฏเป็นครั้งแรกในนิตยสาร harper’s illustrated weekly ปี พ.ศ.1863
ต่อมาเรื่องราวของซานตาคลอสก็แพร่กระจายไปสู่คริสต์ศาสนิกชนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จนกระทั่งหลาย ๆ ประเทศสามารถสร้างตำนานที่มีรายละเอียดแบบเอ็กซ์ลูซีฟเกี่ยวกับซันตาคลอสเป็นของตนเอง เช่น ซานตาคลอสประเทศฟินแลนด์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด ซานตาคลอสมีบ้านและออฟฟิศอยู่ที่เมืองโรวานีมี เป็นเมืองท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักกันดี อยู่ในเขตแลปแลนด์ แคว้นหนึ่งของประเทศฟินแลนด์
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าซานตาคลอสจะอยู่ที่ไหน จะเป็นของชาติใด แก่นแท้ หรือสปิริตของความเป็นซานตาคอลสก็คือ ความรัก ความเมตตา กรุณา และความสดใสร่าเริง ซึ่งเป็นของสากลสำหรับมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาและทั่วทุกหนทุกแห่ง
เพลงคริสต์มาส
              เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้น มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้แต่ง ร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิวัฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาสนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ
  • เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles
    ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่
  • เพลง Silent Night, Holy Night
    ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวันเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ คุณพ่อเองตั้งใจ จะแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ หลังจากแต่งเสร็จ ก็เอาไปให้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ ที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก
เพลง : Jingle Bell
Dashing through the snow
On a one-horse open sleigh,
Over the fields we go,
Laughing all the way;
Bells on bob-tail ring,
making spirits bright,
What fun it is to ride and sing
A sleighing song tonight
Jingle bells, jingle bells,
jingle all the way!
O what fun it is to ride
In a one-horse open sleigh
A day or two ago,
I thought I’d take a ride,
And soon Miss Fanny Bright
Was seated by my side;
The horse was lean and lank;
Misfortune seemed his lot;
He got into a drifted bank,
And we, we got upsot.
Jingle Bells, Jingle Bells,
Jingle all the way!
What fun it is to ride
In a one-horse open sleigh.
A day or two ago,
the story I must tell
I went out on the snow
And on my back I fell;
A gent was riding by
In a one-horse open sleigh,
He laughed as there
I sprawling lie,
But quickly drove away.
Jingle Bells, Jingle Bells,
Jingle all the way!
What fun it is to ride
In a one-horse open sleigh.
Now the ground is white
Go it while you’re young,
Take the girls tonight
And sing this sleighing song;
Just get a bob-tailed bay
two-forty as his speed
Hitch him to an open sleigh
And crack! you’ll take the lead.
Jingle Bells, Jingle Bells,
Jingle all the way!
What fun it is to ride
In a one-horse open sleigh.

วันขึ้นปีใหม่


ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่


ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่

ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ 



ประวัติความเป็นมา 

วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย 
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน 
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย 

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ 
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่ 
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย 

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง) 

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ


สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ 



เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่ 
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 

 

วิธีโหลด คลิกขวาตรงชื่อเพลงแล้วคลิก Save Target As.... รอสักครู่แล้วคลิก Save

ดาวน์โหลดเพลง พรปีใหม่
โค้ด HTML:
http://www.4shared.com/file/129015103/865614f2/09_-_.html


เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์เพื่อปวงชนชาวไทย



ทรงเป็นนักดนตรีที่เปี่ยมด้วยพระปรีชา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรง เดี่ยวดนตรีได้หลายชนิด เริ่มจากเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ทรงสนพระราชหฤทัยเครื่องเป่าประเภทต่างๆ และต่อมาทรงเล่นได้เกือบทุกชนิด เช่น โซปราโนแซ็กโซโฟน (sopranosaxophone) อัลโตแซ็กโซโฟน(altosaxophone) เทเนอร์แซ็กโซโฟน(tenor saxophone) แบริโทนแซ็กโซโฟน(baritone saxophone) แคลริเน็ต(clarinet) และทรัมเป็ต(trumpet) นอกจากนี้ยังทรงกีตาร์และขลุ่ย และยังทรงเปียโนเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เพื่อทรงใช้ประกอบการพระราชนิพนธ์เพลง


พระราชปฎิภาณในการทรงพระราชนิพนธ์เพลง

พระราชอัจฉริยภาพในทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นในสายตาของนัก ดนตรีที่เชี่ยวชาญหลายๆท่านต่างให้ความเห็นตรงกันว่ามีพระราชอัจฉริยภาพสูง ยิ่ง เพราะทรงพระราชนิพนธ์ได้โดยฉับพลันเมื่อมีแรงบันดาลพระราชหฤทัย เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ "พรปีใหม่" ซึ่งพระราชทานให้แก่พสกนิกร ในวันส่งท้ายปีเก่าระหว่าง พ.ศ. 2494-2495 พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าแซ็กโซโฟน สลับช่วงกัน โดยที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าในช่วงที่ 1 และที่ 3 ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป่าในช่วงที่ 2 และที่ 4 สลับกันจนครบเพลงจากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงแต่งคำอวยพรลงในเพลงนั้น ทั้งทำนองและคำร้องเสร็จภายในครึ่งชั่วโมง

บทเพลงพระราชนิพนธ์ซึ่ง พระราชทานแก่ประชาชาวไทย ได้บรรเลงขาบขานกันมายาวนานถึง 50 ปี นอกจากจะมีความ "ไพเราะ" อันโดดเด่นแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยสาระและคติธรรมแห่งชีวิต ช่วยปลุกปลอบจิตใจมิให้ท้อถอยให้เห็น ว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องต่อสู้ด้วยบางครั้งก็ชั่นสูงหากบางครั้งก็ลงต่ำได้ เหมือนโน้ตดนตรี เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นท่ามกลางพระราชภารกิจอันหนักหน่วงนานัปการจึงนับ เป็น "ของพระราชทาน " อันทรงคุณค่าซึ่งจะสถิตตราตรึงอยู่ในใจของประชาชนชาวไทย ชั่วนิรันดร์


เพลงพรปีใหม่

สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันลอยกระทง

ประวัติวันลอยกระทง





ประเพณีลอยกระทง การลอยประทีป หรือการลอยโคม มีปรากฏหลักฐาน ในวรรณคดีเรื่องนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นสนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัว แทนการลอยโคม เพื่อเป็นการสักการะ รอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายอยู่ในแคว้น ทักขิณาบถ ของประเทศอินเดีย ปัจจุบัน เรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา นางนพมาศได้ทำกระทงลอย ที่แปลก จากนางสนมอื่นๆ เมื่อพระร่วงเจ้า ได้เสด็จทางชลมารค ทอดพระเนตรเห็นกระทง ของนางนพมาศ ก็ทรงพอพระทัย จึงมีราชโองการ ให้จัดพิธี ลอยกระทง ขึ้นทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือน สิบของทุกปี พระราชพิธีนี้จึงถือปฏิบัติ มากระทั่งถึงปัจจุบัน ประมาณ ร้อยกว่าปีมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายในพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระราชพิธีสิบสองเดือน" ความตอนหนึ่งว่า"การฉลองพระประทีปลอยกระทงนี้ เป็นนักขัตฤกษ์ ที่รื่นเริงทั่วไปของชนทั้งปวงทัวกัน ไม่เฉพาะแต่ การหลวง จะนับว่าเป็นพระราชพิธีอย่างใดก็ไม่ได้ ด้วยไม่ได้มีพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์ อันใดเกี่ยวข้อง เนื่องในการลอย พระประทีปนั้น ..แต่ควรนับว่าเป็นราชประเพณี ซึ่งมีมาในแผ่นดินสยามแต่โบราณ ตั้งแต่พระนครยังอยู่ฝ่ายเหนือ"




ซึ่งความมุ่งหมายในการลอยกระทง มีจุดมุ่งหมายดังนี้เพื่อขอขมาลาโทษแด่พระแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกินและใช้ และมนุษย์มักจะทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ จึงควรขอขมาลาโทษท่าน
เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาท ประดิษฐานไว้บนหาดทราย แห่งนั้น
เพื่อบูชาพระอุปคุต ซึ่งชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพอย่างสูง โดยตำนานเล่าว่า อุปคุตนั้น เป็นพระมหาเถระรูปหนึ่ง ที่มีอิทธิฤทธิ์ สามารถปราบมารได้ ท่านจะนั่งสมาธิอยู่บนบัลลังก์แก้ว ในท้องมหาสมุทร เพื่อลอยทุกข์ โศก โรค ภัย และความอัปรีย์จัญไร เหมือนกับการลอบบาป ของศาสนาพราหมณ์ ถ้าใครเก็บกระทงไป เท่ากับเก็บความทุกข์ หรือเคราะห์กรรมเหล่านั้น แทนเจ้าของกระทง



  
ตำนานวันลอยกระทง

การลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท
ที่ปรากฏที่ฝั่งแม่น้ำนัมมทานที มีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ คือ ครั้งหนึ่ง พญานาคได้ทูลอาราธนา สัทมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จไปโปรดแสดงธรรมในนาคพิภพ เมื่อพระองค์เสด็จกลับ พญานาคทูลขออนุสาวรีย์ ไว้กราบไหว้ บูชา พระพุทธองค์เลยทรงประดิษฐ์ รอยพระบาทไว้หาดทราย เพื่อให้ นาคทั้งหลาย สักการบูชา การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณีครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกจากนครกบิลพัสด์ เพื่อจะข้ามแม่น้ำ เมื่อทรงทราบว่า พ้นเขตกรุงกบิลพัสด์แล้ว จึงประทับเหนือหาดทรายขาว และตั้งใจจะบรรพชา จึงทรงจับพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ และใช้พระขรรค์ตัดพระเมาลี โยนขึ้นไปบนอากาศ พระอินทร์ได้นำผอบทองมารองรับไว้ และนำไปบรรจุไว้ยังจุฬามณี เจดีย์สถานในเทวโลก ตามปกติเหล่าเทวดา จะมาบูชาพระจุฬามณี เป็นประจำ แม้พระศรีอาริยเมตไตรยเทวโพธิสาร ในอนาคต จะมาจุติบนโลก และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ยังเคยเสด็จมาไหว้ จึงถือว่าการบูชาพระจุฬามณี เป็นการบูชา พระศรีอาริยเมตไตรยด้วย การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้ากลับจากเทวโลกเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช จนได้บรรลุสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยแผ่ ธรรมคำสั่งสอน แก่สาธุชน โดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู้บนชั้นดาวดึงส์ เพื่อเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้นจำพรรษาจนครบ สาม เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับโลก เมื่อท้าวสักกเทาวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิต บันไดทิพย์ขึ้น อันมีบันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพ และประชาชน ทั้งหลายได้พร้อมใจ ทำการสักการบูชา ด้วยพวงมาทิพย์ การลอยกระทงตามตำนานนี้เหมือนกับการตักบาตรเทโว การลอยกระทงเพื่อบูชาพระนารายณ์บรรทมสิทธุ์เป็นความเชื่อตามหลักศาสนาพราหมณ์ เป็นการบูชาพระนารายณ์ ที่บรรทมอยู่ในมหาสมุทร นิยมทำใน วันเพ็ญขึ้น ** ค่ำ เดือน** และ ขึ้น ** ค่ำ เดือน ** จะทำในกำหนดใดก็ได้

การลอยกระทงเพื่อบูชาท้าวพกาพรหม
นิทานของชาวบ้านที่เกี่ยวกับวันลอยกระทง ที่เล่าต่อกันมาคือ เรื่องของกาเผือก*** ทำรังอยู่บน ต้นไม้ ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งกาตัวผู้ออกไปหากิน แล้วกลับเข้ารังไม่ได้ ปล่อยให้นางกาซึ่งกำลังกกไข่ 5 ฟอง รอด้วยความกระวนกระวายใจ จนมีพายุมา ทำให้พัดรังของกาเผือกกระจัดกระจาย ไข่ตกลงน้ำ ส่วนแม่กา ถูกลมพัดไปคนละทาง เมื่อแม่กาย้อนกลัมมาดูไข่ที่รัง ก็ไม่พบ จึงร้องไห้จนขาดใจตาย ไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหม อยู่บนพรหมโลก ส่วนใข่ทั้ง 5 ฟอง ลอยน้ำไปในสถานที่ต่าง ๆ บรรดาแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์ มาพบเข้า จึงนำไปรักษาตัวละฟอง ครั้งถึงเวลาฟัก กลับกลายเป็นมนุษย์ ทั้งหมด กุมารทั้ง 5 ต่างเห็นโทษภัยในการเป็นฆราวาสและอานิสงส์ ในบรรพชา จึงลามารดา เลี้ยงไปบวช เป็นฤาษี ต่อมา ฤาษีทั้ง 5 ได้มีโอกาสพบปะกันจึงถามถึงนามวงศ์ และมารดาของกันและกัน จึงทราบว่าเป็นพี่น้อง ฤาษีทั้ง 5 มีนามดังนี้
คนแรก ชื่อกกุสันโธ (วงศ์ไก่)
คนที่2 ชื่อนาคมโน (วงศ์นาค)
คนที่3 ชื่อกัสสโป (วงศ์เต่า)
คนที่4 ชื่อโคตโม (วงศ์โค)คนที่
5 ชื่อเมตเตยโย (วงศ์ราชสีห์)
ต่างตั้งอธิฐานว่า ถ้าจะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าขอให้ร้อนไปถึงพระมารดา ด้วยแรงอธิฐานจึงร้อนไปถึง ท้าวพกาพรหม จึงเสด็จลงมาและจำแลงเป็นกาเผือก แล้วเล่าเรื่องหนหลังให้ฟัง พร้อมบอกว่าถ้าคิดถึงมารดา เมื่อถึงคืน วันเพ็ญเดือน ** เดือน ** ให้เอาด้ายดิบผูกไม้เป็นตีนกา ปักธูปเทียนบูชาลอบกระทงในแม่น้ำ แล้วท้าวพกาพรหมก็เสด็จกลับไป ตั้งแต่นั้นมา จึงมีการลอยกระทงบูชาท้าวพกาพรหม และเพื่อเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท ที่แม่น้ำ นัมมทานที
ส่วนฤาษีทั้ง 5 ต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้
ฤาษีองค์แรก กกุสันโธ ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกกุสันโธ
ฤาษีองค์ที่2 โกนาคมโน ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโกนาคมม์
ฤาษีองค์ที่ 3 กัสสโป ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ
ฤาษีองค์ที่4 โคตโม ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สมณโคดม
ฤาษีองค์ที่5 เมตเตยโย ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรย
พระพุทธเจ้า * องค์แรก ได้บังเกิดบนโลกแล้ว พระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระพุทธเจ้าองค์ที่ 3 คือ พระศรีอาริยเมตไตรย จะมาบังเกิดในโลกมนุษย์ในอนาคต การลอยกระทงเพื่อบูชาพระอุปคุตต์การลอยกระทงเพื่อบูชาพระอุปคุตต์นี้ เป็นประเพณีของชาวเหนือ และชาวพม่า พระอุปคุตต์นี้ เป็นพระอรหันต์ หลังสมัยพุทธกาล โดยมีตำนานเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้โปรด ให้สร้าง พระสถูปเจดีย์ และพุทธวิหารขึ้นทั่วชมพูทวีป มหาวิหารที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "อโศการาม" ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นมคธ หลังจากพระสถูปต่าง ๆ ***** องค์สำเร็จแล้ว พระเจ้าอโศกทรงมีพระราชประสงค์ จะนำพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปบรรจะตามสถูปต่าง ๆ และมีการเฉลิมฉลอง ยิ่งใหญ่ เป็นเวลา* ปี * เดือน * วัน ด้วยเกรงว่าพญามาร จะมาทำลายพิธี พระเจ้าอโศมหาราชจึงนิมนต์พระอุปคุตต์ที่จำศีลอยู่ในสะดือทะเล องค์เดียวเท่านั้น ที่สามารถ ปราบพญามารได้ หลังจากนั้นพญามารก็สำนึกตัวหันมายึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ส่วนพระอุปคุตต์ หลังจาก ได้ปราบพญามารแล้วจึงลงไปจำศีลอยู่ที่สะดือทะเลตามเดิมพระอุปคุตต์นี้ไทยเรียกว่า พระบัวเข็ม ชาวไทยเหนือหรือชาวพม่าจะนับถือพระอุปคุตต์มาก

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันปิยมหาราช

   23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
  •                                                            
  • วันปิยมหาราช เป็นวันที่เหล่าพสกนิกรชาวไทย นำดอกไม้ธูปเทียนพวงมาลา มาถวายบังคมต่อพระบรมราชานุสรณ์ ของพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระปิยมหาราชเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหาธิคุณนานาประการ ที่พระองค์มีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศืรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 คํ่า ปีฉลู ณ พระตำหนัก ตึกด้านหลังองค์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ครั้นมีพระชนมายุ 15 พรรษา ทรงได้รับเลื่อนกรมขึ้นเป็น กรมขุนพินิจประชานาถ
  • ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิจประชานาถ จึงได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะนั้นพระองค์มีชนมายุย่างเข้า 16 พรรษา นับเป็นพระมหากษัริตย์องค์ที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงค์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • หลังจากที่ขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์ได้ทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าเพื่อหวังให้ทัดเทียมกับบรรดานานาอารยประเทศ ทรงโปรดให้มีการจัด การปฏิรูประเบียบแบบแผนการปกครอง เปลี่ยนแปลงแก้ไขจัดระเบียบราชการบริหารเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับความ ต้องการของกาลสมัย ได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งเสนาบดีและกระทรวงเพิ่มขึ้นใหม่ โดยแบ่งเป็น 12 ส่วน คือ กระทรวงมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมทำ กรมวัง กรมเมือง กรมนา กรมพระยาคลัง กรมยุติธรรม กรมยุทธนาธิการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และกรมมุรธาธิการ
  • นอกจากนี้ยังได้มีการให้ชำระกฏหมายและสร้างประมวลกฏหมายขึ้นมา สำหรับการศาลนั้นให้มีการตั้งกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 การศาสนาได้ให้มีการชำระและพิมพ์พระไตรปิฏก โดยโปรดให้สร้างพระไตรปิฏกฉบับทองทึบด้วคัมภีร์ใบลาน เมื่อปี พ.ศ. 2431 ตราพระราชบัญญติลักษณะการปกครองสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2445 และโปรดให้มีการสร้างวัดสำคัญๆเช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชาธิวาส (โปรดให้รื้อใหม่หมด ) วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (บางปะอิน) วัดอัษฎางคนิมิตร และวัดจุฐาทิศธรรมสภาราม (อยู่ที่เกาะสีชัง )
  • อีกทั้งโปรดให้มีการบูรณะวัด ได้แก่ วัดศรีรัตนศาสดาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ วัดมงกฏกษัตริยาราม พระพุทธบาทสระบุรี วัดสุวรรณดาราม ( พระนครศรีอยุธยา ) พระปฐมเจดีย์ทรงสร้างต่อมาจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ
  • สำหรับการสาธารณูปโภค ได้มีการตั้งธนาคารไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2447 โดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร่วมกับกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง ก่อตั้งะนาคารไทยแห่งแรกขึ้น เรียกว่า บุคคลัภย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจดทะเบียนเป็น บริษัท แบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด ดำเนินกิจการตามแบบสากล โดยคนไทยทั้งคณะ
  • นอกเหนือจากนี้ยังมีกิจการ การไฟฟ้า เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลของพระองค์ ในปี พ.ศ. 2433 การประปา ในปี พ.ศ. 2452 การพยาบาลและสาธารณสุข พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนประเดิมให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลศิริราช โดยเริ่มเปิดดำเนินงานในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431
  • การขนส่งและการสื่อสาร โปรดให้มีการสำรวจพื้นที่สร้างทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2431 และในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เริ่มสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา นับเป็นรถไฟหลวงสายแรก (ทางรถไฟราษฎร์สายแรก คือ สายกรุงเทพ - ปากนํ้า ดำเนินงานโดยชาวเดนมาร์กคณะหนึ่ง เริ่มเปิดบริการเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 ระยะทาง 21 กม. )
  • การไปรษณีย์ โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2426 เปิดกิจการเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 โดยเปิดใน พระนครเป็นปฐม ส่วนการโทรเลข ได้เริ่มงานในปี พ.ศ. 2412 โดยโปรดให้ชาวอังกฤษ 2 นายประกอบการขึ้น แต่ไม่สำเร็จ ทางราชการกระทรวงกลาโหมจึงรับช่วงมาทำเอง เมื่อปี พ.ศ. 2418 โทรเลขสายแรก คือ สายระหว่างกรุงเทพฯ กับ สมุทรปราการ ซึ่งยาว 45 กม. และยังมีสายใต้นํ้าที่วางต่อไปจนถึงประภาคารที่ปากนํ้าเจ้าพระยา
  • การโทรศัพท์ กรมกลาโหมได้นำมาใช้ในขั้นทดลองเมื่อปี พ.ศ. 2424 โดยติดตั้งจากกรุงเทพ ฯ ถึงสมุทรปราการ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2429 กรมโทรเลขได้รับโอนงานมาจัดตั้งโทรศัพท์กลางขึ้นในพระนคร และเปิดให้ประชาชนเช่าใช้โทรศัพท์ ติดต่อสื่อสารกันด้วย
  • ด้านการศึกษา โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2141 โดยมีหลวงสารประเสริฐ (น้อย อาจาริยางกูร ) เป็นอาจารย์ใหญ่ ปี พ.ศ. 2422 โปรดให้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่พระราชวังนันทอุทยาน สวนอนันต์ ธนบุรี ปี พ.ศ. 2424 โปรดให้ตั้งโรงเรียน กรมมหาดเล็กแล้วยกเป็นโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ในปี พ.ศ. 2425 ย้ายไปอยู่พระตำหนักสวนกุหลาบ จึงเรียกกันว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมเกี่ยวกับการศึกษาในต่างประเทศโดยทุนหลวง ฯลฯ
  • ในด้านวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ไกลบ้าน เงาะป่า ลิลิตนิทราชาคริต ฯลฯ และในรัชสมัยของ พระองค์ได้เกิดกวีนักปราชญ์คนสำคัญมากมาย อาทิเช่น พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย ) ผู้ประพันธ์แบบเรียนภาษาไทย 6 เล่ม และพรรณพฤกษากับสัตววาภิธาร ซึ่งแต่งใกล้ๆกันทั้งสองเรื่องในระยะ พ.ศ. 2427 เพื่อเป็นแบบสอนอ่นภาษาไทย นอกจากนี้ยังมี พระองค์เจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระนราธิปประพันธพงค์ ซึ่งสร้างผลงานวรรณกรรมช้นเอกไว้มากมาย เช่น สาวเครือฟ้า อาหรับราตรี จดหมายเหตุลาลูแบร์ ทรงใช้พระนามแฝงว่า " ประเสริฐอักษร " กวีท่านอื่นๆ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ พระะยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงพระนิพนธ์ไทยรบพม่า นิราศนครวัด และ เทียนวรรณ ผู้มีผลงานทางวรรณคดีหลายเรื่อง
  • พระองค์ทรงโปรดให้มีการตั้งหอพระสุมดสำหรับพระนคร โดยรวมหอพระสมุดเดิม 3 นคร ในปี พ.ศ. 2417 ตั้งโบราณคดีสโมสร ในปี พ.ศ. 2450
  • ด้านการต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงที่กำลังมีการล่าอาณานิคม แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นมาได้ แม้จะต้องเฉือนแผ่นดินบางส่วนให้ปไเรียกว่าเป็นการเสียแผ่นดิดแดน บางส่วน แต่ก็ยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้
    • การเลิกทาส
    • พระราชกรณียกิจอีกชิ้นหนึ่ง ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ คือ การเลิกทาส โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ โดยเริ่มให้มี ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ขึ้นในปี พ.ศ. 2417 โดยกำหนดให้ลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ. 2411 อันเป็นปีแรกที่พระองค์ครองราชย์ให้ใช้อัตราค่าตัวใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ พออายุครบ 8 ปี ก็ถือว่าค่าตัวเต็มค่าแล้วการเป็น ทาสอีก และระบุโทษแก่ผู้ซื้อขายไว้ด้วย
    • ในปี พ.ศ. 2420 เมื่อพระองค์มีชนมายุครบ 2 รอบ ได้บริจาคพระราชทรัพย์ไถ่ตัวทาสที่ขายตัวอยู่กับนายเงินคนเดียวมาครบ 25 ปี รวมทั้งลูกหลานทาสนั้น อีกทั้งพระราชทานที่ให้ทำกินด้วย พระราชดำริอันนี้มีผู้เจริญรอยตามมาก ช่วยให้ทาสเป็นอิสระได้เร็วขึ้น อีกทางหนึ่ง
    • ในปี พ.ศ. 2443 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสนณฑลตะวันตกเแยงเหนือ ร.ศ. 119 ขึ้น โดยให้ลดค่าตัวทาสเชลย ทั้งปวงในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ให้เป็นอัตราเดียวกันหมด และเมื่ออายุครบ 60 ปีแล้ว ก็ให้เป็นไทแก่ตัว ส่วนทาสสินไถ่ถ้ามีอายุครบ 60 ปีแล้ว ยังหาเงินมาไถ่ไม่ได้ ก็โปรดให้เป็นไทเช่นกัน
    • ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2447 ทรงประกาศลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา โดยให้นายเงินลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด และห้ามการซื้อขายทาสกันต่อไป
    • ในปี พ.ศ. 2448 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 125 ขึ้น เพื่อใช้บังคับทั่วพระราชอาณาจักร
    • ด้วยพระปรีชาสามารถและการมีสายพระเนตรอันยาวไกล ในอีก 30 ปีต่อมา นับแต่มีพระราชดำริให้มีการเลิกทาส ในเมืองไทยก็ปราศจากทาสโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ประเทศไทยก็เจริญรุ่งเรืองเทียมเท่าบรรดาอารยประเทศ และรักษาความเป็นเอกราช ไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้
    • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของปวงชนชาวไทย เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เมื่อมีพระชนมายุ 58 พรรษา รวมเวลาอยู่ในสิริราชสมบัตินับไดถึง 42 ปีเศษ การจากไปของพระองค์ยังความโศกเศร้ามาสู่พสกนิกร ของพระองค์โดยทั่วหน้า เมื่อถึงวันคล้ายวันสวรรคต จึงพร้อมใจกันนำพวงมาลาไปถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ เพื่อรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ เป็นประจำทุกปี




               http://www.tongzweb.com/10-23.asp