วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันปิยมหาราช

   23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
  •                                                            
  • วันปิยมหาราช เป็นวันที่เหล่าพสกนิกรชาวไทย นำดอกไม้ธูปเทียนพวงมาลา มาถวายบังคมต่อพระบรมราชานุสรณ์ ของพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระปิยมหาราชเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหาธิคุณนานาประการ ที่พระองค์มีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศืรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 คํ่า ปีฉลู ณ พระตำหนัก ตึกด้านหลังองค์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ครั้นมีพระชนมายุ 15 พรรษา ทรงได้รับเลื่อนกรมขึ้นเป็น กรมขุนพินิจประชานาถ
  • ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิจประชานาถ จึงได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะนั้นพระองค์มีชนมายุย่างเข้า 16 พรรษา นับเป็นพระมหากษัริตย์องค์ที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงค์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • หลังจากที่ขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์ได้ทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าเพื่อหวังให้ทัดเทียมกับบรรดานานาอารยประเทศ ทรงโปรดให้มีการจัด การปฏิรูประเบียบแบบแผนการปกครอง เปลี่ยนแปลงแก้ไขจัดระเบียบราชการบริหารเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับความ ต้องการของกาลสมัย ได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งเสนาบดีและกระทรวงเพิ่มขึ้นใหม่ โดยแบ่งเป็น 12 ส่วน คือ กระทรวงมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมทำ กรมวัง กรมเมือง กรมนา กรมพระยาคลัง กรมยุติธรรม กรมยุทธนาธิการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และกรมมุรธาธิการ
  • นอกจากนี้ยังได้มีการให้ชำระกฏหมายและสร้างประมวลกฏหมายขึ้นมา สำหรับการศาลนั้นให้มีการตั้งกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 การศาสนาได้ให้มีการชำระและพิมพ์พระไตรปิฏก โดยโปรดให้สร้างพระไตรปิฏกฉบับทองทึบด้วคัมภีร์ใบลาน เมื่อปี พ.ศ. 2431 ตราพระราชบัญญติลักษณะการปกครองสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2445 และโปรดให้มีการสร้างวัดสำคัญๆเช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชาธิวาส (โปรดให้รื้อใหม่หมด ) วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (บางปะอิน) วัดอัษฎางคนิมิตร และวัดจุฐาทิศธรรมสภาราม (อยู่ที่เกาะสีชัง )
  • อีกทั้งโปรดให้มีการบูรณะวัด ได้แก่ วัดศรีรัตนศาสดาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ วัดมงกฏกษัตริยาราม พระพุทธบาทสระบุรี วัดสุวรรณดาราม ( พระนครศรีอยุธยา ) พระปฐมเจดีย์ทรงสร้างต่อมาจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ
  • สำหรับการสาธารณูปโภค ได้มีการตั้งธนาคารไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2447 โดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร่วมกับกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง ก่อตั้งะนาคารไทยแห่งแรกขึ้น เรียกว่า บุคคลัภย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจดทะเบียนเป็น บริษัท แบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด ดำเนินกิจการตามแบบสากล โดยคนไทยทั้งคณะ
  • นอกเหนือจากนี้ยังมีกิจการ การไฟฟ้า เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลของพระองค์ ในปี พ.ศ. 2433 การประปา ในปี พ.ศ. 2452 การพยาบาลและสาธารณสุข พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนประเดิมให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลศิริราช โดยเริ่มเปิดดำเนินงานในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431
  • การขนส่งและการสื่อสาร โปรดให้มีการสำรวจพื้นที่สร้างทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2431 และในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เริ่มสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา นับเป็นรถไฟหลวงสายแรก (ทางรถไฟราษฎร์สายแรก คือ สายกรุงเทพ - ปากนํ้า ดำเนินงานโดยชาวเดนมาร์กคณะหนึ่ง เริ่มเปิดบริการเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 ระยะทาง 21 กม. )
  • การไปรษณีย์ โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2426 เปิดกิจการเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 โดยเปิดใน พระนครเป็นปฐม ส่วนการโทรเลข ได้เริ่มงานในปี พ.ศ. 2412 โดยโปรดให้ชาวอังกฤษ 2 นายประกอบการขึ้น แต่ไม่สำเร็จ ทางราชการกระทรวงกลาโหมจึงรับช่วงมาทำเอง เมื่อปี พ.ศ. 2418 โทรเลขสายแรก คือ สายระหว่างกรุงเทพฯ กับ สมุทรปราการ ซึ่งยาว 45 กม. และยังมีสายใต้นํ้าที่วางต่อไปจนถึงประภาคารที่ปากนํ้าเจ้าพระยา
  • การโทรศัพท์ กรมกลาโหมได้นำมาใช้ในขั้นทดลองเมื่อปี พ.ศ. 2424 โดยติดตั้งจากกรุงเทพ ฯ ถึงสมุทรปราการ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2429 กรมโทรเลขได้รับโอนงานมาจัดตั้งโทรศัพท์กลางขึ้นในพระนคร และเปิดให้ประชาชนเช่าใช้โทรศัพท์ ติดต่อสื่อสารกันด้วย
  • ด้านการศึกษา โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2141 โดยมีหลวงสารประเสริฐ (น้อย อาจาริยางกูร ) เป็นอาจารย์ใหญ่ ปี พ.ศ. 2422 โปรดให้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่พระราชวังนันทอุทยาน สวนอนันต์ ธนบุรี ปี พ.ศ. 2424 โปรดให้ตั้งโรงเรียน กรมมหาดเล็กแล้วยกเป็นโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ในปี พ.ศ. 2425 ย้ายไปอยู่พระตำหนักสวนกุหลาบ จึงเรียกกันว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมเกี่ยวกับการศึกษาในต่างประเทศโดยทุนหลวง ฯลฯ
  • ในด้านวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ไกลบ้าน เงาะป่า ลิลิตนิทราชาคริต ฯลฯ และในรัชสมัยของ พระองค์ได้เกิดกวีนักปราชญ์คนสำคัญมากมาย อาทิเช่น พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย ) ผู้ประพันธ์แบบเรียนภาษาไทย 6 เล่ม และพรรณพฤกษากับสัตววาภิธาร ซึ่งแต่งใกล้ๆกันทั้งสองเรื่องในระยะ พ.ศ. 2427 เพื่อเป็นแบบสอนอ่นภาษาไทย นอกจากนี้ยังมี พระองค์เจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระนราธิปประพันธพงค์ ซึ่งสร้างผลงานวรรณกรรมช้นเอกไว้มากมาย เช่น สาวเครือฟ้า อาหรับราตรี จดหมายเหตุลาลูแบร์ ทรงใช้พระนามแฝงว่า " ประเสริฐอักษร " กวีท่านอื่นๆ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ พระะยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงพระนิพนธ์ไทยรบพม่า นิราศนครวัด และ เทียนวรรณ ผู้มีผลงานทางวรรณคดีหลายเรื่อง
  • พระองค์ทรงโปรดให้มีการตั้งหอพระสุมดสำหรับพระนคร โดยรวมหอพระสมุดเดิม 3 นคร ในปี พ.ศ. 2417 ตั้งโบราณคดีสโมสร ในปี พ.ศ. 2450
  • ด้านการต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงที่กำลังมีการล่าอาณานิคม แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นมาได้ แม้จะต้องเฉือนแผ่นดินบางส่วนให้ปไเรียกว่าเป็นการเสียแผ่นดิดแดน บางส่วน แต่ก็ยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้
    • การเลิกทาส
    • พระราชกรณียกิจอีกชิ้นหนึ่ง ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ คือ การเลิกทาส โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ โดยเริ่มให้มี ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ขึ้นในปี พ.ศ. 2417 โดยกำหนดให้ลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ. 2411 อันเป็นปีแรกที่พระองค์ครองราชย์ให้ใช้อัตราค่าตัวใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ พออายุครบ 8 ปี ก็ถือว่าค่าตัวเต็มค่าแล้วการเป็น ทาสอีก และระบุโทษแก่ผู้ซื้อขายไว้ด้วย
    • ในปี พ.ศ. 2420 เมื่อพระองค์มีชนมายุครบ 2 รอบ ได้บริจาคพระราชทรัพย์ไถ่ตัวทาสที่ขายตัวอยู่กับนายเงินคนเดียวมาครบ 25 ปี รวมทั้งลูกหลานทาสนั้น อีกทั้งพระราชทานที่ให้ทำกินด้วย พระราชดำริอันนี้มีผู้เจริญรอยตามมาก ช่วยให้ทาสเป็นอิสระได้เร็วขึ้น อีกทางหนึ่ง
    • ในปี พ.ศ. 2443 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสนณฑลตะวันตกเแยงเหนือ ร.ศ. 119 ขึ้น โดยให้ลดค่าตัวทาสเชลย ทั้งปวงในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ให้เป็นอัตราเดียวกันหมด และเมื่ออายุครบ 60 ปีแล้ว ก็ให้เป็นไทแก่ตัว ส่วนทาสสินไถ่ถ้ามีอายุครบ 60 ปีแล้ว ยังหาเงินมาไถ่ไม่ได้ ก็โปรดให้เป็นไทเช่นกัน
    • ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2447 ทรงประกาศลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา โดยให้นายเงินลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด และห้ามการซื้อขายทาสกันต่อไป
    • ในปี พ.ศ. 2448 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 125 ขึ้น เพื่อใช้บังคับทั่วพระราชอาณาจักร
    • ด้วยพระปรีชาสามารถและการมีสายพระเนตรอันยาวไกล ในอีก 30 ปีต่อมา นับแต่มีพระราชดำริให้มีการเลิกทาส ในเมืองไทยก็ปราศจากทาสโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ประเทศไทยก็เจริญรุ่งเรืองเทียมเท่าบรรดาอารยประเทศ และรักษาความเป็นเอกราช ไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้
    • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของปวงชนชาวไทย เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เมื่อมีพระชนมายุ 58 พรรษา รวมเวลาอยู่ในสิริราชสมบัตินับไดถึง 42 ปีเศษ การจากไปของพระองค์ยังความโศกเศร้ามาสู่พสกนิกร ของพระองค์โดยทั่วหน้า เมื่อถึงวันคล้ายวันสวรรคต จึงพร้อมใจกันนำพวงมาลาไปถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ เพื่อรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ เป็นประจำทุกปี




               http://www.tongzweb.com/10-23.asp

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น