วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันลอยกระทง

ประวัติวันลอยกระทง





ประเพณีลอยกระทง การลอยประทีป หรือการลอยโคม มีปรากฏหลักฐาน ในวรรณคดีเรื่องนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นสนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัว แทนการลอยโคม เพื่อเป็นการสักการะ รอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายอยู่ในแคว้น ทักขิณาบถ ของประเทศอินเดีย ปัจจุบัน เรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา นางนพมาศได้ทำกระทงลอย ที่แปลก จากนางสนมอื่นๆ เมื่อพระร่วงเจ้า ได้เสด็จทางชลมารค ทอดพระเนตรเห็นกระทง ของนางนพมาศ ก็ทรงพอพระทัย จึงมีราชโองการ ให้จัดพิธี ลอยกระทง ขึ้นทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือน สิบของทุกปี พระราชพิธีนี้จึงถือปฏิบัติ มากระทั่งถึงปัจจุบัน ประมาณ ร้อยกว่าปีมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายในพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระราชพิธีสิบสองเดือน" ความตอนหนึ่งว่า"การฉลองพระประทีปลอยกระทงนี้ เป็นนักขัตฤกษ์ ที่รื่นเริงทั่วไปของชนทั้งปวงทัวกัน ไม่เฉพาะแต่ การหลวง จะนับว่าเป็นพระราชพิธีอย่างใดก็ไม่ได้ ด้วยไม่ได้มีพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์ อันใดเกี่ยวข้อง เนื่องในการลอย พระประทีปนั้น ..แต่ควรนับว่าเป็นราชประเพณี ซึ่งมีมาในแผ่นดินสยามแต่โบราณ ตั้งแต่พระนครยังอยู่ฝ่ายเหนือ"




ซึ่งความมุ่งหมายในการลอยกระทง มีจุดมุ่งหมายดังนี้เพื่อขอขมาลาโทษแด่พระแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกินและใช้ และมนุษย์มักจะทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ จึงควรขอขมาลาโทษท่าน
เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาท ประดิษฐานไว้บนหาดทราย แห่งนั้น
เพื่อบูชาพระอุปคุต ซึ่งชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพอย่างสูง โดยตำนานเล่าว่า อุปคุตนั้น เป็นพระมหาเถระรูปหนึ่ง ที่มีอิทธิฤทธิ์ สามารถปราบมารได้ ท่านจะนั่งสมาธิอยู่บนบัลลังก์แก้ว ในท้องมหาสมุทร เพื่อลอยทุกข์ โศก โรค ภัย และความอัปรีย์จัญไร เหมือนกับการลอบบาป ของศาสนาพราหมณ์ ถ้าใครเก็บกระทงไป เท่ากับเก็บความทุกข์ หรือเคราะห์กรรมเหล่านั้น แทนเจ้าของกระทง



  
ตำนานวันลอยกระทง

การลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท
ที่ปรากฏที่ฝั่งแม่น้ำนัมมทานที มีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ คือ ครั้งหนึ่ง พญานาคได้ทูลอาราธนา สัทมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จไปโปรดแสดงธรรมในนาคพิภพ เมื่อพระองค์เสด็จกลับ พญานาคทูลขออนุสาวรีย์ ไว้กราบไหว้ บูชา พระพุทธองค์เลยทรงประดิษฐ์ รอยพระบาทไว้หาดทราย เพื่อให้ นาคทั้งหลาย สักการบูชา การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณีครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกจากนครกบิลพัสด์ เพื่อจะข้ามแม่น้ำ เมื่อทรงทราบว่า พ้นเขตกรุงกบิลพัสด์แล้ว จึงประทับเหนือหาดทรายขาว และตั้งใจจะบรรพชา จึงทรงจับพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ และใช้พระขรรค์ตัดพระเมาลี โยนขึ้นไปบนอากาศ พระอินทร์ได้นำผอบทองมารองรับไว้ และนำไปบรรจุไว้ยังจุฬามณี เจดีย์สถานในเทวโลก ตามปกติเหล่าเทวดา จะมาบูชาพระจุฬามณี เป็นประจำ แม้พระศรีอาริยเมตไตรยเทวโพธิสาร ในอนาคต จะมาจุติบนโลก และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ยังเคยเสด็จมาไหว้ จึงถือว่าการบูชาพระจุฬามณี เป็นการบูชา พระศรีอาริยเมตไตรยด้วย การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้ากลับจากเทวโลกเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช จนได้บรรลุสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยแผ่ ธรรมคำสั่งสอน แก่สาธุชน โดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู้บนชั้นดาวดึงส์ เพื่อเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้นจำพรรษาจนครบ สาม เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับโลก เมื่อท้าวสักกเทาวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิต บันไดทิพย์ขึ้น อันมีบันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพ และประชาชน ทั้งหลายได้พร้อมใจ ทำการสักการบูชา ด้วยพวงมาทิพย์ การลอยกระทงตามตำนานนี้เหมือนกับการตักบาตรเทโว การลอยกระทงเพื่อบูชาพระนารายณ์บรรทมสิทธุ์เป็นความเชื่อตามหลักศาสนาพราหมณ์ เป็นการบูชาพระนารายณ์ ที่บรรทมอยู่ในมหาสมุทร นิยมทำใน วันเพ็ญขึ้น ** ค่ำ เดือน** และ ขึ้น ** ค่ำ เดือน ** จะทำในกำหนดใดก็ได้

การลอยกระทงเพื่อบูชาท้าวพกาพรหม
นิทานของชาวบ้านที่เกี่ยวกับวันลอยกระทง ที่เล่าต่อกันมาคือ เรื่องของกาเผือก*** ทำรังอยู่บน ต้นไม้ ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งกาตัวผู้ออกไปหากิน แล้วกลับเข้ารังไม่ได้ ปล่อยให้นางกาซึ่งกำลังกกไข่ 5 ฟอง รอด้วยความกระวนกระวายใจ จนมีพายุมา ทำให้พัดรังของกาเผือกกระจัดกระจาย ไข่ตกลงน้ำ ส่วนแม่กา ถูกลมพัดไปคนละทาง เมื่อแม่กาย้อนกลัมมาดูไข่ที่รัง ก็ไม่พบ จึงร้องไห้จนขาดใจตาย ไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหม อยู่บนพรหมโลก ส่วนใข่ทั้ง 5 ฟอง ลอยน้ำไปในสถานที่ต่าง ๆ บรรดาแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์ มาพบเข้า จึงนำไปรักษาตัวละฟอง ครั้งถึงเวลาฟัก กลับกลายเป็นมนุษย์ ทั้งหมด กุมารทั้ง 5 ต่างเห็นโทษภัยในการเป็นฆราวาสและอานิสงส์ ในบรรพชา จึงลามารดา เลี้ยงไปบวช เป็นฤาษี ต่อมา ฤาษีทั้ง 5 ได้มีโอกาสพบปะกันจึงถามถึงนามวงศ์ และมารดาของกันและกัน จึงทราบว่าเป็นพี่น้อง ฤาษีทั้ง 5 มีนามดังนี้
คนแรก ชื่อกกุสันโธ (วงศ์ไก่)
คนที่2 ชื่อนาคมโน (วงศ์นาค)
คนที่3 ชื่อกัสสโป (วงศ์เต่า)
คนที่4 ชื่อโคตโม (วงศ์โค)คนที่
5 ชื่อเมตเตยโย (วงศ์ราชสีห์)
ต่างตั้งอธิฐานว่า ถ้าจะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าขอให้ร้อนไปถึงพระมารดา ด้วยแรงอธิฐานจึงร้อนไปถึง ท้าวพกาพรหม จึงเสด็จลงมาและจำแลงเป็นกาเผือก แล้วเล่าเรื่องหนหลังให้ฟัง พร้อมบอกว่าถ้าคิดถึงมารดา เมื่อถึงคืน วันเพ็ญเดือน ** เดือน ** ให้เอาด้ายดิบผูกไม้เป็นตีนกา ปักธูปเทียนบูชาลอบกระทงในแม่น้ำ แล้วท้าวพกาพรหมก็เสด็จกลับไป ตั้งแต่นั้นมา จึงมีการลอยกระทงบูชาท้าวพกาพรหม และเพื่อเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท ที่แม่น้ำ นัมมทานที
ส่วนฤาษีทั้ง 5 ต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้
ฤาษีองค์แรก กกุสันโธ ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกกุสันโธ
ฤาษีองค์ที่2 โกนาคมโน ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโกนาคมม์
ฤาษีองค์ที่ 3 กัสสโป ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ
ฤาษีองค์ที่4 โคตโม ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สมณโคดม
ฤาษีองค์ที่5 เมตเตยโย ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรย
พระพุทธเจ้า * องค์แรก ได้บังเกิดบนโลกแล้ว พระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระพุทธเจ้าองค์ที่ 3 คือ พระศรีอาริยเมตไตรย จะมาบังเกิดในโลกมนุษย์ในอนาคต การลอยกระทงเพื่อบูชาพระอุปคุตต์การลอยกระทงเพื่อบูชาพระอุปคุตต์นี้ เป็นประเพณีของชาวเหนือ และชาวพม่า พระอุปคุตต์นี้ เป็นพระอรหันต์ หลังสมัยพุทธกาล โดยมีตำนานเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้โปรด ให้สร้าง พระสถูปเจดีย์ และพุทธวิหารขึ้นทั่วชมพูทวีป มหาวิหารที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "อโศการาม" ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นมคธ หลังจากพระสถูปต่าง ๆ ***** องค์สำเร็จแล้ว พระเจ้าอโศกทรงมีพระราชประสงค์ จะนำพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปบรรจะตามสถูปต่าง ๆ และมีการเฉลิมฉลอง ยิ่งใหญ่ เป็นเวลา* ปี * เดือน * วัน ด้วยเกรงว่าพญามาร จะมาทำลายพิธี พระเจ้าอโศมหาราชจึงนิมนต์พระอุปคุตต์ที่จำศีลอยู่ในสะดือทะเล องค์เดียวเท่านั้น ที่สามารถ ปราบพญามารได้ หลังจากนั้นพญามารก็สำนึกตัวหันมายึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ส่วนพระอุปคุตต์ หลังจาก ได้ปราบพญามารแล้วจึงลงไปจำศีลอยู่ที่สะดือทะเลตามเดิมพระอุปคุตต์นี้ไทยเรียกว่า พระบัวเข็ม ชาวไทยเหนือหรือชาวพม่าจะนับถือพระอุปคุตต์มาก

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันปิยมหาราช

   23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
  •                                                            
  • วันปิยมหาราช เป็นวันที่เหล่าพสกนิกรชาวไทย นำดอกไม้ธูปเทียนพวงมาลา มาถวายบังคมต่อพระบรมราชานุสรณ์ ของพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระปิยมหาราชเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหาธิคุณนานาประการ ที่พระองค์มีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศืรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 คํ่า ปีฉลู ณ พระตำหนัก ตึกด้านหลังองค์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ครั้นมีพระชนมายุ 15 พรรษา ทรงได้รับเลื่อนกรมขึ้นเป็น กรมขุนพินิจประชานาถ
  • ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิจประชานาถ จึงได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะนั้นพระองค์มีชนมายุย่างเข้า 16 พรรษา นับเป็นพระมหากษัริตย์องค์ที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงค์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • หลังจากที่ขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์ได้ทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าเพื่อหวังให้ทัดเทียมกับบรรดานานาอารยประเทศ ทรงโปรดให้มีการจัด การปฏิรูประเบียบแบบแผนการปกครอง เปลี่ยนแปลงแก้ไขจัดระเบียบราชการบริหารเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับความ ต้องการของกาลสมัย ได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งเสนาบดีและกระทรวงเพิ่มขึ้นใหม่ โดยแบ่งเป็น 12 ส่วน คือ กระทรวงมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมทำ กรมวัง กรมเมือง กรมนา กรมพระยาคลัง กรมยุติธรรม กรมยุทธนาธิการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และกรมมุรธาธิการ
  • นอกจากนี้ยังได้มีการให้ชำระกฏหมายและสร้างประมวลกฏหมายขึ้นมา สำหรับการศาลนั้นให้มีการตั้งกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 การศาสนาได้ให้มีการชำระและพิมพ์พระไตรปิฏก โดยโปรดให้สร้างพระไตรปิฏกฉบับทองทึบด้วคัมภีร์ใบลาน เมื่อปี พ.ศ. 2431 ตราพระราชบัญญติลักษณะการปกครองสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2445 และโปรดให้มีการสร้างวัดสำคัญๆเช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชาธิวาส (โปรดให้รื้อใหม่หมด ) วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (บางปะอิน) วัดอัษฎางคนิมิตร และวัดจุฐาทิศธรรมสภาราม (อยู่ที่เกาะสีชัง )
  • อีกทั้งโปรดให้มีการบูรณะวัด ได้แก่ วัดศรีรัตนศาสดาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ วัดมงกฏกษัตริยาราม พระพุทธบาทสระบุรี วัดสุวรรณดาราม ( พระนครศรีอยุธยา ) พระปฐมเจดีย์ทรงสร้างต่อมาจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ
  • สำหรับการสาธารณูปโภค ได้มีการตั้งธนาคารไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2447 โดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร่วมกับกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง ก่อตั้งะนาคารไทยแห่งแรกขึ้น เรียกว่า บุคคลัภย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจดทะเบียนเป็น บริษัท แบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด ดำเนินกิจการตามแบบสากล โดยคนไทยทั้งคณะ
  • นอกเหนือจากนี้ยังมีกิจการ การไฟฟ้า เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลของพระองค์ ในปี พ.ศ. 2433 การประปา ในปี พ.ศ. 2452 การพยาบาลและสาธารณสุข พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนประเดิมให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลศิริราช โดยเริ่มเปิดดำเนินงานในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431
  • การขนส่งและการสื่อสาร โปรดให้มีการสำรวจพื้นที่สร้างทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2431 และในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เริ่มสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา นับเป็นรถไฟหลวงสายแรก (ทางรถไฟราษฎร์สายแรก คือ สายกรุงเทพ - ปากนํ้า ดำเนินงานโดยชาวเดนมาร์กคณะหนึ่ง เริ่มเปิดบริการเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 ระยะทาง 21 กม. )
  • การไปรษณีย์ โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2426 เปิดกิจการเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 โดยเปิดใน พระนครเป็นปฐม ส่วนการโทรเลข ได้เริ่มงานในปี พ.ศ. 2412 โดยโปรดให้ชาวอังกฤษ 2 นายประกอบการขึ้น แต่ไม่สำเร็จ ทางราชการกระทรวงกลาโหมจึงรับช่วงมาทำเอง เมื่อปี พ.ศ. 2418 โทรเลขสายแรก คือ สายระหว่างกรุงเทพฯ กับ สมุทรปราการ ซึ่งยาว 45 กม. และยังมีสายใต้นํ้าที่วางต่อไปจนถึงประภาคารที่ปากนํ้าเจ้าพระยา
  • การโทรศัพท์ กรมกลาโหมได้นำมาใช้ในขั้นทดลองเมื่อปี พ.ศ. 2424 โดยติดตั้งจากกรุงเทพ ฯ ถึงสมุทรปราการ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2429 กรมโทรเลขได้รับโอนงานมาจัดตั้งโทรศัพท์กลางขึ้นในพระนคร และเปิดให้ประชาชนเช่าใช้โทรศัพท์ ติดต่อสื่อสารกันด้วย
  • ด้านการศึกษา โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2141 โดยมีหลวงสารประเสริฐ (น้อย อาจาริยางกูร ) เป็นอาจารย์ใหญ่ ปี พ.ศ. 2422 โปรดให้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่พระราชวังนันทอุทยาน สวนอนันต์ ธนบุรี ปี พ.ศ. 2424 โปรดให้ตั้งโรงเรียน กรมมหาดเล็กแล้วยกเป็นโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ในปี พ.ศ. 2425 ย้ายไปอยู่พระตำหนักสวนกุหลาบ จึงเรียกกันว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมเกี่ยวกับการศึกษาในต่างประเทศโดยทุนหลวง ฯลฯ
  • ในด้านวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ไกลบ้าน เงาะป่า ลิลิตนิทราชาคริต ฯลฯ และในรัชสมัยของ พระองค์ได้เกิดกวีนักปราชญ์คนสำคัญมากมาย อาทิเช่น พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย ) ผู้ประพันธ์แบบเรียนภาษาไทย 6 เล่ม และพรรณพฤกษากับสัตววาภิธาร ซึ่งแต่งใกล้ๆกันทั้งสองเรื่องในระยะ พ.ศ. 2427 เพื่อเป็นแบบสอนอ่นภาษาไทย นอกจากนี้ยังมี พระองค์เจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระนราธิปประพันธพงค์ ซึ่งสร้างผลงานวรรณกรรมช้นเอกไว้มากมาย เช่น สาวเครือฟ้า อาหรับราตรี จดหมายเหตุลาลูแบร์ ทรงใช้พระนามแฝงว่า " ประเสริฐอักษร " กวีท่านอื่นๆ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ พระะยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงพระนิพนธ์ไทยรบพม่า นิราศนครวัด และ เทียนวรรณ ผู้มีผลงานทางวรรณคดีหลายเรื่อง
  • พระองค์ทรงโปรดให้มีการตั้งหอพระสุมดสำหรับพระนคร โดยรวมหอพระสมุดเดิม 3 นคร ในปี พ.ศ. 2417 ตั้งโบราณคดีสโมสร ในปี พ.ศ. 2450
  • ด้านการต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงที่กำลังมีการล่าอาณานิคม แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นมาได้ แม้จะต้องเฉือนแผ่นดินบางส่วนให้ปไเรียกว่าเป็นการเสียแผ่นดิดแดน บางส่วน แต่ก็ยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้
    • การเลิกทาส
    • พระราชกรณียกิจอีกชิ้นหนึ่ง ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ คือ การเลิกทาส โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ โดยเริ่มให้มี ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ขึ้นในปี พ.ศ. 2417 โดยกำหนดให้ลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ. 2411 อันเป็นปีแรกที่พระองค์ครองราชย์ให้ใช้อัตราค่าตัวใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ พออายุครบ 8 ปี ก็ถือว่าค่าตัวเต็มค่าแล้วการเป็น ทาสอีก และระบุโทษแก่ผู้ซื้อขายไว้ด้วย
    • ในปี พ.ศ. 2420 เมื่อพระองค์มีชนมายุครบ 2 รอบ ได้บริจาคพระราชทรัพย์ไถ่ตัวทาสที่ขายตัวอยู่กับนายเงินคนเดียวมาครบ 25 ปี รวมทั้งลูกหลานทาสนั้น อีกทั้งพระราชทานที่ให้ทำกินด้วย พระราชดำริอันนี้มีผู้เจริญรอยตามมาก ช่วยให้ทาสเป็นอิสระได้เร็วขึ้น อีกทางหนึ่ง
    • ในปี พ.ศ. 2443 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสนณฑลตะวันตกเแยงเหนือ ร.ศ. 119 ขึ้น โดยให้ลดค่าตัวทาสเชลย ทั้งปวงในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ให้เป็นอัตราเดียวกันหมด และเมื่ออายุครบ 60 ปีแล้ว ก็ให้เป็นไทแก่ตัว ส่วนทาสสินไถ่ถ้ามีอายุครบ 60 ปีแล้ว ยังหาเงินมาไถ่ไม่ได้ ก็โปรดให้เป็นไทเช่นกัน
    • ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2447 ทรงประกาศลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา โดยให้นายเงินลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด และห้ามการซื้อขายทาสกันต่อไป
    • ในปี พ.ศ. 2448 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 125 ขึ้น เพื่อใช้บังคับทั่วพระราชอาณาจักร
    • ด้วยพระปรีชาสามารถและการมีสายพระเนตรอันยาวไกล ในอีก 30 ปีต่อมา นับแต่มีพระราชดำริให้มีการเลิกทาส ในเมืองไทยก็ปราศจากทาสโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ประเทศไทยก็เจริญรุ่งเรืองเทียมเท่าบรรดาอารยประเทศ และรักษาความเป็นเอกราช ไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้
    • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของปวงชนชาวไทย เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เมื่อมีพระชนมายุ 58 พรรษา รวมเวลาอยู่ในสิริราชสมบัตินับไดถึง 42 ปีเศษ การจากไปของพระองค์ยังความโศกเศร้ามาสู่พสกนิกร ของพระองค์โดยทั่วหน้า เมื่อถึงวันคล้ายวันสวรรคต จึงพร้อมใจกันนำพวงมาลาไปถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ เพื่อรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ เป็นประจำทุกปี




               http://www.tongzweb.com/10-23.asp

    วันเทศการกินเจ

     เทศกาลกินเจ



    เทศกาลกินเจ


    เทศกาลกินเจ เป็นช่วงเวลาแห่งการไว้ทุกข์ 10 วัน แด่ คน 9 คน ซึ่งเป็นชาวฮั่นที่ได้ทำการปฏิวัติต่อต้านพวกแมนจูแต่ไม่สำเร็จจึงถูก ประหารชีวิตโดยการตัดคอและโยนลงสู่แม่น้ำหลังจากนั้นก็มีเจ้ามารับวิญญาณ ทั้ง 9 ไป ชาวจีนจึงยกย่องให้ชายทั้ง 9 เป็นเจ้าแห่งเทศกาลกินเจ เมื่อถึงเทศกาลกินเจ ก็คือการไว้ทุกข์ให้บุคคลทั้ง 9 คน ซึ่งเรียกกันว่า เจ้าวันกินเจถ้าดูจากปฏิทินของไทยก็จะไม่ตรงกันทุกปี แต่ถ้านับจากปฏิทินจีน 1 เดือน ก็จะมี 29 - 30 วัน จะไม่มีวันที่ 31 วันกินเจ วันแรกจะตรงกับวันสุดท้ายของเดือนที่แปดนับจากปฏิทินจีนถ้าดูจากปฏิทินจีน เทศกาลกินเจก็จะตรงกันทุกปี

    10 วันของเทศกาลกินเจ

              วันแรก แต่ละศาลเจ้าก็จะดูเลิกยามว่าจะเชิญเจ้ามาเวลาไหน แต่ยังไงก็ไม่เกิน12.00น.จะทำการ เชิญเจ้ากันที่แม่น้ำโดยการใช้ ปวย (ถ้าไม่ทราบว่าเป็นยังลองนึกไปถึงตอนที่เข้าศาลเจ้าจะเห็น เป็นเหมือนก้อนสีแดง ๆ 2 ก้อน) จะทราบว่าเจ้ามาก็ต่อเมื่อปวย 2 อันจะทำการเสี่ยงทายโดยการโยน 2 ครั้ง แล้วปรากฏว่า 1 อันหงาย อีก 1 อันคว่ำ ก็แสดงว่าเจ้าทั้ง 9 ได้เสร็จลงมาแล้วการกินเจก็จะเริ่มขึ้นแต่คนส่วนใหญ่ก็ทานกันส่วนหน้าเพื่อ เป็นการล้างท้องยิ่งพวกที่ทำหน้าที่เป็นคนเชิญเจ้าด้วย แล้วบางคนที่เคร่งก็จะทานล่วงหน้ากันเป็นเดือนทีเดียว

              วันที่สี่ เป็นวันที่คนส่วนใหญ่จะมาไหว้เจ้าเหมือนกับเป็นวันนัดกันมาไหว้เจ้า

              วันที่เจ็ด ก็เป็นวันไหว้เจ้าอีกวันแต่วันนี้จะสำคัญกว่าวันที่สี่ เพราะถือว่าเป็นการไหว้เจ้าใหญ่ ใครจะพลาดไหว้วันไหนแต่ห้ามพลาดไหว้วันนี้ ในวันนี้จะมีการซื้อเต่า , ปลาไหล ,นก ฯลฯ มาไหว้ด้วย

              วันที่แปด วันนี้จะมีการลอยกระทงด้วยคล้ายการลอยกระทงของคนไทย ความหมายก็ขอบคุณ เจ้าแม่คงคา สำหรับน้ำที่ให้เรา ๆ ได้ใช้และดื่มกัน แล้วก็ให้สิ่งไม่ดีลอยไปตามน้ำ

              วันที่เก้า เป็นวันที่คนเยอะสุด ๆ ก็ว่าได้ ตอนช่วงเช้าก็จะมีพิธีทำทาน หรือเรียกว่า ซิโกว เป็นการให้ทานแก่ พวกผีที่ไม่มีญาติคนแก่บางคนก็เคยเห็นว่ามีวิญญาณมารับของไป (เป็นความเชื่อส่วนบุคคล) ตอนกลางคืน ก็จะมีแห่มังกร, สิงโต, ขบวนของเด็ก และสาว ๆ อันนี้เป็นแค่ทำสีสันไม่ได้มีความหมาย

              วันที่สิบ เป็นวันส่งเจ้ากลับ

              การกินเจนั้นจะต้องถือศีลด้วย จึงจะเป็นการกินเจ ที่ถูกต้องและสมบูรณ์

    เทศกาลกินเจ 2555 กินเจ 2555 ข้อห้ามในการกินเจ 
    ประเพณีกินเจ ก็คือประเพณีกินผัก หรือที่เรียกว่า มังสวิรัติ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าของ ชาวจีน ที่ถึงจะย้ายถิ่น ฐานไปอยู่ในประเทศใด ก็ยังคงยึดถือปฏิบัติตามประเพณีนี้อยู่ สำหรับ ประเทศไทยที่มีชาวจีนมาตั้งรกรากอยู่จำนวนไม่น้อย ปัจจุบันกลายเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ก็ยังยึดถือประเพณีกินเจเช่นกัน ประเพณีกินเจในประเทศไทยที่ผู้คนรู้จักกันดีก็คือ ที่จังหวัดภูเก็ต ที่เกิดขึ้นมากกว่าร้อยปีแล้ว โดยแพร่หลาย มาจากคณะงิ้วประเทศจีนที่มาแสดงให้ชาวจีนในภูเก็ตดู การกินเจในปัจจุบันมิได้มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อจะป้องกัน ภัยพิบัติเท่านั้น แต่ยังเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์และเป็นการเคารพถึงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป
    แล้ว ...

    นช่วงเทศกาลกินเจมีข้อห้ามที่ยึดถือปฏิบัติกันมานานอยู่หลายข้อ ชื่อกันว่าถ้าปฏิบัติได้ครบทุกข้อจึงจะเข้า ถึงการกินเจที่ถูกต้องและ ได้บุญอย่างแท้จริง จึงขอยก ข้อห้ามทั้ง 10 ข้อในเทศกาลกินเจ มาเล่าให้ฟังกัน จะว่าเป็น การไขข้อข้องใจกันก็ได้ เพราะเชื่อว่าบางข้อยัง เป็นที่สงสัยกันอยู่ เริ่มที่ ข้อแรก การงดกินผักฉุนหรือผักที่มีกลิ่นแรง ซึ่งประกอบไปด้วยพืชผัก 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม (หัวกระเทียม, ต้นกระเทียม) หัวหอม (ต้นหอม, ใบหอม, หอมแดง,หอมขาว,หอมหัวใหญ่) หลักเกียว (ลักษณะคล้าย หัวกระเทียม แต่เล็กกว่า) กุ้ยช่าย (ใบคล้ายใบหอม แต่แบนและเล็กกว่า) ใบยาสูบ (บุหรี่,ยาเส้น,ของเสพติดมึนเมา) ผักเหล่านี้เป็นผักที่มีรสหนัก กลิ่นรุนแรง นอกจากนี้ยัง ให้โทษทำลายพลังธาตุในร่างกาย เป็นเหตุให้อวัยวะหลัก สำคัญภายในทั้ง 5 ทำงานไม่ปกติ สำหรับผู้ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานไม่ควรรับประทาน พราะผักดังกล่าวมีฤทธิ์ กระตุ้นจิตใจและอารมณ์ให้เร่าร้อน ใจคอหงุดหงิด โกรธง่าย และยังมีผลทำให้พลังธาตุในร่างกายรวมตัวไม่ติด จิตใจจะไม่บริสุทธิ์ ซึ่งในข้อห้ามนี้มีบางคนยังข้องใจกันมาก คือ กระเทียมซึ่งทางการแพทย์และเภสัชกรพบว่า สามารถรับประทานเป็นยาได้ ทั้งนี้เพราะเป็นสารที่มีประโยชน์สามารถละลายไขมันในเส้นเลือดได้ เช่น ผู้ป่วยที่ เป็นโรคเส้นโลหิตเลี้ยงหัวใจตีบหรืออุดตัน เป็นต้น แม้ทางการแพทย์แผนโบราณก็ยืนยันตรงกันว่ากระเทียมเป็น สมุนไพรรักษาโรคได้ แต่คนจีนที่ปฏิบัติในการกินเจถือว่าให้โทณกับหัวใจ ซึ่งในข้อนี้ต้องขึ้นอยู่กับความเชื่อของ แต่ละคน

     
    ข้อที่สอง การงดกินเนื้อสัตว์ ซึ่งประกอบไปด้วย เนื้อวัว หมู ปลา หรือสัตว์มีชีวิตที่ใช้เป็น อาหารได้ เพราะ คนจีนเชื่อว่าก่อนตายมันจะตกอยู่ในอาหารตกใจกลัวเมื่อเรากินมันเข้าไป อาจจะทำให้เรามีบาปติดตัวไปด้วย เพราะมันคือสิ่งที่มีชีวิตเหมือนกับคน ข้อนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่คนจีนถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แต่มาถึงปัจจุบัน ..........บางคนเริ่มหาข้อคัดค้านว่าสัตว์บางชนิดอย่าง หอยหรือปลาเล็กๆ ก็น่าจะรับประทานได้เพราะมันเป็นสัตว์ไม่มีเลือด ตามความเชื่อแล้วมันขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่ถ้าในความเป็นจริงแล้ว คนจีนเขาเชื่อว่าประเพณีนี้ศักดิ์สิทธิ์ถ้าปฏิบัติ ให่เคร่งครัด ถึงจะมีคนคัดค้านแต่กับข้อนี้คงไม่ได้ผล ข้อที่สาม ไม่ควรกินอาหารรสจัด ซึ่งไม่ใช่แค่รสเผ็ดอย่างเดียว รวมไปถึงรสเค็มมาก หวานมากหรือเปรี้ยวมาก ด้วย ซึ่งปกติคนจีนจะไม่กินรสจัดอยู่แล้วเพราะถือว่าจะเข้าไปทำลายสุขภาพ อย่างกินเผ็ดจัดก็จะไปทำลาย กระเพาะ กินเค็มมากจะไปทำลายไตได้ และอีกอย่างน้ำปลาก็ทำมาจากสัตว์เหมือนกัน ข้อห้ามนี้ถือว่าถูกหลักของ การแพทย์ แต่บางคนที่ปฏิบัติไม่เคร่งครัดนัก เช่น ชอบรสเค็มจัดก็ใช้เกลือแทนน้ำปลา อันนี้ถือว่าไม่ผิด
    ข้อที่สี่ ต้องกินอาหารที่คนกินเจด้วยกันปรุง ซึ่งข้อนี้ถ้าปฏิบัติได้จะถือว่าบริสุทธิ์จริงๆ แต่ถ้าทำให้เกิดความยาก ลำบากก็ไม่จำเป็น จะได้ไม่ต้องเลือกร้านกันจ้าละหวั่น ฉะนั้นคนที่ปรุงอาจจะไม่ได้กินเจก็ได้แต่ขอให้อาหารที่กินเข้า ไปเป็นอาหารเจก็พอ ข้อที่ห้า ถ้วยชามจะต้องไม่ปนกัน เพราะเขาถือเคร่งครัดว่าอาหารคาวซึ่งชาวจีนเรียกว่า  ชอ  นั้น ถ้วยชาม จะใช้ปนกันไม่ได้ จะถือว่าล้างสะอาดหมดจดแล้วจึงเอามาใช้ก็ผิดอีก บางคนคิดว่าล้างให้สะอาดมากๆ ก็ไม่จำเป็น ต้องแยก แต่ข้อนี้ถือว่าเป็นธรรมเนียมเหมือนอย่างอิสลามที่ไม่ยอม ใช้ถ้วยชามปนกัน เหมือนของจีนนั่นแหละ ข้อที่หก ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ข้อนี้ตรงกับการรักษาศีลของชาวพุทธ การฆ่าสัตว์ของชาวจีนตั้งแต่สัตว์เล็กๆ ไป จนถึงสัตว์ใหญ่เป็นข้อเคร่งครัดเช่นกัน บางคนสงสัยอีกว่าอย่างถ้าเป็นยุงหรือมดฆ่าได้ไหมตามความเชื่อแล้วห้าม เด็ดขาดไม่เช่นนั้นจะถือว่า ปฏิบัติไม่ครบ ข้อที่เจ็ด แต่งกายด้วยชุดขาว ข้อนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน บางคนก็ใส่ชุดสีขาวตลอดจนถึงออกเจเพราะเชื่อกัน ว่านอกจากงดอาหาร ต่างๆ ในร่างกายสะอาดแล้วภายนอกแม่จะเป็นเครื่องแต่งกายก็ต้องสะอาดด้วย ข้อนี้ไม่ใคร่ เข้มงวดสำหรับบุคคลที่ปฏิบัติอยู่กับบ้าน ไม่ได้ไปที่แจตั๊วหรือสถานที่ทำพิธีกินเจ ข้อที่แป พูดจาไเราะ คนที่ถือศีลกินเจไม่ใช่เพียงแต่กินของสะอาดเท่านั้น แต่คำพูดที่พูดออก จากปากก็ต้อง สะอาดด้วย สิ่งไม่ดีทั้งหลายไมควรพูดหรือที่เรียกว่า  ปากเจ  ซึ่งประกอบไปด้วย ไม่พูดเท็จ ไม่พูดยุแหย่ ไม่พูด เพ้อเจ้อ ถ้าปฏิบัติได้ก็ถือว่าสะอาดทั้งหมด ข้อที่เก้า งดดื่มสุราและของมึนเมา ตลอดช่วงเวลา 9 วัน ..........ข้อนี้สำคัญเพราะการงดอาหารที่เป็นของคาวแล้วสิ่ง ที่สร้างความมึนเมาหรือสิ่งแปลกปลอมในร่างกายก็ห้ามเข้าสู่ร่างกายด้วย ข้อที่สิบ ห้ามดับตะเกียงทั้ง 9 ดวง คนที่จะไปกินเจมักจะไปชุมนุมกันที่แจตั๊วหรือสถานที่กินเจ ณ ที่นั้น เขาจะประดับดอกไม้ตั้งโต๊ะบูชา วางกระถางธูปและตั้งเครื่องเจ ต่างๆ นอกจากนี้ ก็จุดโคม 9 ดวงเพื่อสมมติเป็น  เก๊าฮ้วงฮุดโจ้ว  นั่นเอง ซึ่งจะต้องจุดไว้ทั้งกลางวันและ กลางคืนจนตลอดงานทีเดียว ถ้าดับโคมไฟดวงใดดวงหนึ่ง ก็จะถือว่าไม่เป็นสิริมงคลและไม่ครบถ้วนพิธีการกินเจ… ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อห้ามในการกินเจใครจะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อของตัวเอง ประเพณีกินเจโดยทั่วไปแล้วมิได้ทำกันตลอดทั้งปี แต่จะเริ่มกินในช่วงวันขึ้น 1 ค่ำ จนถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ซึ่งตก ในเดือน 11 ข้างไทยเป็นวันกินเจ ซึ่งจะสับเปลี่ยนเวียนไปตามปีนั้นๆ ใครที่ไม่ได้เป็นลูกหลานชาวจีนถ้าต้องการจะ มีร่างกายและจิตใจ ที่บริสุทธิ์และได้ทำบุญกุศลอาจจะอยากเข้าร่วมพิธีนี้ด้วยก็ได้ เป็นการดีเสียอีกที่ปีหนึ่งคนเรา หันมาทำบุญร่วมกัน

    ข้อห้ามในการ กินเจ

    วันออกพรรษา

     

    หลังเทศกาลเข้าพรรษาผ่านพ้นไปได้ 3 เดือน ก็จะเป็น วันออกพรรษา ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดย วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารนา" คำว่า "ปวารนา" นั้นแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ โดยในปีนี้ วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ 30 ตุลาคม 2555

             
    ทั้งนี้ วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ใน วันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรืออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา

              สำหรับ คำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังนี้ "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ" มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

              เมื่อทำพิธี วันออกพรรษา แล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงค์ก็คือ 


               ไปไหนไม่ต้องบอกลา
               ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
               มีสิทธิ์รับลาภที่เกิดขึ้นได้
               มีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ที่จะสามารถขยายเวลาของอานิสงค์ออกไปอีก 4 เดือน

     ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา
               ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่นิยมปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง คือ

    1. ประเพณีตักบาตรเทโว หลัง วันออกพรรษา 

              หลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการ "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน

    ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโว มีดังนี้

              สมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

              โดยพิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบันนั้นจะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณ หลัง วันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันไดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้

    2. ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลัง วันออกพรรษา

              งานเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลัง วันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน 1 เดือนหลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขี้น 8 ค่ำกลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญพระเวส"  ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 ก็มี

              งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน 10 โดยการเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ประเพณี วันออกพรรษา ในแต่ละภาค

    นอกจากนี้ในแต่ละภาคก็จะมีประเพณีที่ต่างกันไป

    วันออกพรรษา ภาคกลาง

              จังหวัดนครปฐม ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันไดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันไดสวรรค์ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร

              จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุก็จะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตจากชาวบ้าน โดยขบวนพระภิกษุสงฆ์ที่ลงมาจากบันไดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูปนำหน้า ทำการสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้า จะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตรหรือปางลีลา ตั้งไว้บนรถหรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาต

              แต่สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้วฟังเทศน์รักษาอุโบสถศีล ส่วนที่นิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น 2 วัน คือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ในวันออกพรรษานั้น หรือในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย ๆ และรักษาอุโบสถศีล

              ส่วนทางภาคใต้ก็จะมีประเพณีชักพระหรือลากพระ ซึ่งก็คือพระพุทธรูปนั่นเอง โดยมี 2 กรณี คือ ชักพระทางบก กับ ชักพระทางน้ำ 


    พิธีชักพระทางบก          

              ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนวันชักพระ 2 วัน จะมีพิธีใส่บาตรหน้าล้อ นอกจากอาหารคาวหวานแล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของงาน คือ "ปัด" หรือข้าวต้มผัดน้ำกะทิห่อด้วยใบมะพร้าว บางที่ห่อด้วยใบกะพ้อ (ปาล์มชนิดหนึ่ง) ในภาคกลางเขาเรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน ก่อนจะถึงวันออกพรรษา 1 - 2 สัปดาห์ ทางวัดจะทำเรือบก คือ เอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ 2 ท่อนมาทำเป็นพญานาค 2 ตัว เป็นแม่เรือที่ถูกยึดไว้อย่างแข็งแรง แล้วปูกระดาน วางบุษบก บนบุษบกจะนำพระพุทธรูปยืนรอบบุษบกก็วางเครื่องดนตรีไว้บรรเลง เวลาเคลื่อนพระไปสู่บริเวณงานพอเช้าวัน 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ 2 เส้นที่ผูกไว้กับพญานาคทั้ง 2 ตัว เมื่อถึงบริเวณงานจะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬาพื้นเมืองต่างๆ กลางคืนมีงานฉลองอย่างมโหฬาร อย่างการชักพระที่ปัตตานีก็จะมีชาวอิสลามร่วมด้วย

    พิธีชักพระทางน้ำ

              ก่อนถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ทางวัดที่อยู่ริมน้ำ ก็จะเตรียมการต่างๆ โดยการนำเรือมา 2 - 3 ลำ มาปูด้วยไม้กระดานเพื่อตั้งบุษบก หรือพนมพระประดับประดาด้วยธงทิว ในบุษบกก็ตั้งพระพุทธรูป ในเรือบางที่ก็มีเครื่องดนตรีประโคมตลอดทางที่เรือเคลื่อนที่ไปสู่จุดกำหนด คือบริเวณงานท่าน้ำที่เป็นบริเวณงานก็จะมีเรือพระหลายๆ วัดมาร่วมงาน ปัจจุบันจะนิยมใช้เรือยนต์จูง แทนการพาย เมื่อชักพระถึงบริเวณงานทั้งหมด ทุกวัดที่มาร่วมจะมีการฉลองสมโภชพระ มีการละเล่นต่างๆ อย่างสนุกสนาน เช่น แข่งเรือปาโคลน ซัดข้าวต้ม เป็นต้น เมื่อฉลองเสร็จ ก็จะชักพระกลับวัด บางทีก็จะแย่งเรือกัน ฝ่ายใดชนะก็ยึดเรือ ฝ่ายใดแพ้ต้องเสียค่าไถ่ให้ฝ่ายชนะ จึงจะได้เรือคืน

              ในเขตที่มีบ้านเรือนอยู่ในเขตแม่น้ำลำคลองก็จะมีพิธีรับพระเช่นกัน อย่างที่อำเภอบางบ่อ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทางวัดจะอัญเชิญพระพุทธรูปยืนลงบุษบกในตัวเรือแล้วแห่ไปตามลำคลอง ชาวบ้านก็จะโยนดอกบัวจากฝั่งให้ตกในเรือหน้าพระพุทธรูป แล้วโยนข้าวต้ม และยังมีการแข่งขันเรือชิงรางวัลอีกด้วย หรือจะเป็นประเพณีตักบาตรพระร้อย ที่เป็นการใส่บาตรพระร้อยรูป ส่วนมากจะจัดพิธีขึ้นทางน้ำเนื่องจากแต่ก่อนบ้านเรือนจะอยู่ติดแม่น้ำลำคลอง การสัญจรไปไหนมาไหนก็จะใช้เรือ พระส่วนใหญ่จึงใช้เรือในการออกบิณฑบาต

    กิจกรรมต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติใน วันออกพรรษา

               1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ

               2. ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา

               3. ร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว"

               4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

               5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

               6. งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข รวมทั้งละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์

    โดยประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำพิธี วันออกพรรษา จะมีดังต่อไปนี้

               เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงอยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล

               การทำบุญออกพรรษาจะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือหลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนานๆ ก็จะเผย "สันดาน" ที่แท้ออกมา อาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้างๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้นตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน

               ได้ข้อคิดที่ว่า คนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูก ความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา

               เป็นการให้รู้ถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกัน โดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใดๆ ต่อในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

              ดังนั้นใครที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง วันออกพรรษา จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการย้อนมองดูตัวเองว่าได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไว้บ้างหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ปรับปรุงและไม่ทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมอีก



    วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย
    การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า "ปวารณา"[1] จัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น
    เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนคร[2]พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย[3]
    นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง

                     23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
    •        
    •                                                                     
    • วันปิยมหาราช เป็นวันที่เหล่าพสกนิกรชาวไทย นำดอกไม้ธูปเทียนพวงมาลา มาถวายบังคมต่อพระบรมราชานุสรณ์ ของพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระปิยมหาราชเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหาธิคุณนานาประการ ที่พระองค์มีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศืรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 คํ่า ปีฉลู ณ พระตำหนัก ตึกด้านหลังองค์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ครั้นมีพระชนมายุ 15 พรรษา ทรงได้รับเลื่อนกรมขึ้นเป็น กรมขุนพินิจประชานาถ
    • ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิจประชานาถ จึงได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะนั้นพระองค์มีชนมายุย่างเข้า 16 พรรษา นับเป็นพระมหากษัริตย์องค์ที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงค์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • หลังจากที่ขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์ได้ทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าเพื่อหวังให้ทัดเทียมกับบรรดานานาอารยประเทศ ทรงโปรดให้มีการจัด การปฏิรูประเบียบแบบแผนการปกครอง เปลี่ยนแปลงแก้ไขจัดระเบียบราชการบริหารเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับความ ต้องการของกาลสมัย ได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งเสนาบดีและกระทรวงเพิ่มขึ้นใหม่ โดยแบ่งเป็น 12 ส่วน คือ กระทรวงมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมทำ กรมวัง กรมเมือง กรมนา กรมพระยาคลัง กรมยุติธรรม กรมยุทธนาธิการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และกรมมุรธาธิการ
    • นอกจากนี้ยังได้มีการให้ชำระกฏหมายและสร้างประมวลกฏหมายขึ้นมา สำหรับการศาลนั้นให้มีการตั้งกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 การศาสนาได้ให้มีการชำระและพิมพ์พระไตรปิฏก โดยโปรดให้สร้างพระไตรปิฏกฉบับทองทึบด้วคัมภีร์ใบลาน เมื่อปี พ.ศ. 2431 ตราพระราชบัญญติลักษณะการปกครองสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2445 และโปรดให้มีการสร้างวัดสำคัญๆเช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชาธิวาส (โปรดให้รื้อใหม่หมด ) วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (บางปะอิน) วัดอัษฎางคนิมิตร และวัดจุฐาทิศธรรมสภาราม (อยู่ที่เกาะสีชัง )
    • อีกทั้งโปรดให้มีการบูรณะวัด ได้แก่ วัดศรีรัตนศาสดาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ วัดมงกฏกษัตริยาราม พระพุทธบาทสระบุรี วัดสุวรรณดาราม ( พระนครศรีอยุธยา ) พระปฐมเจดีย์ทรงสร้างต่อมาจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ
    • สำหรับการสาธารณูปโภค ได้มีการตั้งธนาคารไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2447 โดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร่วมกับกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง ก่อตั้งะนาคารไทยแห่งแรกขึ้น เรียกว่า บุคคลัภย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจดทะเบียนเป็น บริษัท แบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด ดำเนินกิจการตามแบบสากล โดยคนไทยทั้งคณะ
    • นอกเหนือจากนี้ยังมีกิจการ การไฟฟ้า เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลของพระองค์ ในปี พ.ศ. 2433 การประปา ในปี พ.ศ. 2452 การพยาบาลและสาธารณสุข พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนประเดิมให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลศิริราช โดยเริ่มเปิดดำเนินงานในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431
    • การขนส่งและการสื่อสาร โปรดให้มีการสำรวจพื้นที่สร้างทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2431 และในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เริ่มสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา นับเป็นรถไฟหลวงสายแรก (ทางรถไฟราษฎร์สายแรก คือ สายกรุงเทพ - ปากนํ้า ดำเนินงานโดยชาวเดนมาร์กคณะหนึ่ง เริ่มเปิดบริการเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 ระยะทาง 21 กม. )
    • การไปรษณีย์ โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2426 เปิดกิจการเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 โดยเปิดใน พระนครเป็นปฐม ส่วนการโทรเลข ได้เริ่มงานในปี พ.ศ. 2412 โดยโปรดให้ชาวอังกฤษ 2 นายประกอบการขึ้น แต่ไม่สำเร็จ ทางราชการกระทรวงกลาโหมจึงรับช่วงมาทำเอง เมื่อปี พ.ศ. 2418 โทรเลขสายแรก คือ สายระหว่างกรุงเทพฯ กับ สมุทรปราการ ซึ่งยาว 45 กม. และยังมีสายใต้นํ้าที่วางต่อไปจนถึงประภาคารที่ปากนํ้าเจ้าพระยา
    • การโทรศัพท์ กรมกลาโหมได้นำมาใช้ในขั้นทดลองเมื่อปี พ.ศ. 2424 โดยติดตั้งจากกรุงเทพ ฯ ถึงสมุทรปราการ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2429 กรมโทรเลขได้รับโอนงานมาจัดตั้งโทรศัพท์กลางขึ้นในพระนคร และเปิดให้ประชาชนเช่าใช้โทรศัพท์ ติดต่อสื่อสารกันด้วย
    • ด้านการศึกษา โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2141 โดยมีหลวงสารประเสริฐ (น้อย อาจาริยางกูร ) เป็นอาจารย์ใหญ่ ปี พ.ศ. 2422 โปรดให้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่พระราชวังนันทอุทยาน สวนอนันต์ ธนบุรี ปี พ.ศ. 2424 โปรดให้ตั้งโรงเรียน กรมมหาดเล็กแล้วยกเป็นโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ในปี พ.ศ. 2425 ย้ายไปอยู่พระตำหนักสวนกุหลาบ จึงเรียกกันว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมเกี่ยวกับการศึกษาในต่างประเทศโดยทุนหลวง ฯลฯ
    • ในด้านวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ไกลบ้าน เงาะป่า ลิลิตนิทราชาคริต ฯลฯ และในรัชสมัยของ พระองค์ได้เกิดกวีนักปราชญ์คนสำคัญมากมาย อาทิเช่น พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย ) ผู้ประพันธ์แบบเรียนภาษาไทย 6 เล่ม และพรรณพฤกษากับสัตววาภิธาร ซึ่งแต่งใกล้ๆกันทั้งสองเรื่องในระยะ พ.ศ. 2427 เพื่อเป็นแบบสอนอ่นภาษาไทย นอกจากนี้ยังมี พระองค์เจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระนราธิปประพันธพงค์ ซึ่งสร้างผลงานวรรณกรรมช้นเอกไว้มากมาย เช่น สาวเครือฟ้า อาหรับราตรี จดหมายเหตุลาลูแบร์ ทรงใช้พระนามแฝงว่า " ประเสริฐอักษร " กวีท่านอื่นๆ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ พระะยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงพระนิพนธ์ไทยรบพม่า นิราศนครวัด และ เทียนวรรณ ผู้มีผลงานทางวรรณคดีหลายเรื่อง
    • พระองค์ทรงโปรดให้มีการตั้งหอพระสุมดสำหรับพระนคร โดยรวมหอพระสมุดเดิม 3 นคร ในปี พ.ศ. 2417 ตั้งโบราณคดีสโมสร ในปี พ.ศ. 2450
    • ด้านการต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงที่กำลังมีการล่าอาณานิคม แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นมาได้ แม้จะต้องเฉือนแผ่นดินบางส่วนให้ปไเรียกว่าเป็นการเสียแผ่นดิดแดน บางส่วน แต่ก็ยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้
      การเลิกทาส
    • พระราชกรณียกิจอีกชิ้นหนึ่ง ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ คือ การเลิกทาส โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ โดยเริ่มให้มี ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ขึ้นในปี พ.ศ. 2417 โดยกำหนดให้ลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ. 2411 อันเป็นปีแรกที่พระองค์ครองราชย์ให้ใช้อัตราค่าตัวใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ พออายุครบ 8 ปี ก็ถือว่าค่าตัวเต็มค่าแล้วการเป็น ทาสอีก และระบุโทษแก่ผู้ซื้อขายไว้ด้วย
    • ในปี พ.ศ. 2420 เมื่อพระองค์มีชนมายุครบ 2 รอบ ได้บริจาคพระราชทรัพย์ไถ่ตัวทาสที่ขายตัวอยู่กับนายเงินคนเดียวมาครบ 25 ปี รวมทั้งลูกหลานทาสนั้น อีกทั้งพระราชทานที่ให้ทำกินด้วย พระราชดำริอันนี้มีผู้เจริญรอยตามมาก ช่วยให้ทาสเป็นอิสระได้เร็วขึ้น อีกทางหนึ่ง
    • ในปี พ.ศ. 2443 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสนณฑลตะวันตกเแยงเหนือ ร.ศ. 119 ขึ้น โดยให้ลดค่าตัวทาสเชลย ทั้งปวงในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ให้เป็นอัตราเดียวกันหมด และเมื่ออายุครบ 60 ปีแล้ว ก็ให้เป็นไทแก่ตัว ส่วนทาสสินไถ่ถ้ามีอายุครบ 60 ปีแล้ว ยังหาเงินมาไถ่ไม่ได้ ก็โปรดให้เป็นไทเช่นกัน
    • ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2447 ทรงประกาศลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา โดยให้นายเงินลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด และห้ามการซื้อขายทาสกันต่อไป
    • ในปี พ.ศ. 2448 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 125 ขึ้น เพื่อใช้บังคับทั่วพระราชอาณาจักร
    • ด้วยพระปรีชาสามารถและการมีสายพระเนตรอันยาวไกล ในอีก 30 ปีต่อมา นับแต่มีพระราชดำริให้มีการเลิกทาส ในเมืองไทยก็ปราศจากทาสโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ประเทศไทยก็เจริญรุ่งเรืองเทียมเท่าบรรดาอารยประเทศ และรักษาความเป็นเอกราช ไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้
    • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของปวงชนชาวไทย เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เมื่อมีพระชนมายุ 58 พรรษา รวมเวลาอยู่ในสิริราชสมบัตินับไดถึง 42 ปีเศษ การจากไปของพระองค์ยังความโศกเศร้ามาสู่พสกนิกร ของพระองค์โดยทั่วหน้า เมื่อถึงวันคล้ายวันสวรรคต จึงพร้อมใจกันนำพวงมาลาไปถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ เพื่อรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ เป็นประจำทุกปี




               http://www.tongzweb.com/10-23.asp